วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ความสนใจ ความปรารถนา เป้าหมายที่ควร

"ความสนใจ ความปรารถนา เป้าหมายที่ควร เป็นความไม่มีกิเลส ความไม่มีอธรรม ความมีธรรมะ ความมีธรรมฝ่ายดีงาม โดยทางสายกลาง"
"การหยุดกิเลส หยุดอธรรม ปฏิบัติธรรมะ ปฏิบัติธรรมฝ่ายดีงาม โดยทางสายกลาง จะทำให้มีความสุข"

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

หยุดวิชาที่ผิดที่ไม่ดี

"ควรหยุดวิชาที่ผิดที่ไม่ดีให้สำเร็จ"
"หยุดวิชาที่ผิดที่ไม่ดีสำเร็จได้ด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"การหยุดวิชาที่ผิดที่ไม่ดีจะทำให้หยุดอธรรมได้"

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ปฏิบัติสบายๆ

"สามารถปฏิบัติความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง อย่างสบายๆ ได้"
"สามารถปฏิบัติความปรารถนาดี การรู้จักให้รู้จักรับ การรู้คุณแทนคุณ ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม ความตรง การรู้จักวางเฉย รู้จักปล่อยวาง การรู้จักออกจาก ความมีอิสระ อย่างสบายๆ ได้"

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

การปฏิบัติเกี่ยวกับรูป นาม

"ใช้รูป นาม อย่างถูกต้อง ถูกหลักธรรม ถูกหลักธรรมฝ่ายดีงาม ถูกหลักวิชา ถูกกฎของธรรมชาติ ไม่เป็นกิเลสฝ่ายอธรรม เป็นทางสายกลาง
ใช้รูป นาม อย่างไม่ผิดหลักธรรม ไม่ผิดหลักวิชา ไม่ผิดกฎของธรรมชาติ"
"สำหรับการใช้รูป ไม่ควรใช้นามไปประกอบกับรูป อย่างผิดหลักธรรม ผิดหลักวิชา หรือผิดกฎของธรรมชาติ
สำหรับการใช้นาม ไม่ควรใช้รูปไปประกอบกับนาม อย่างผิดหลักธรรม ผิดหลักวิชา หรือผิดกฎของธรรมชาติ"

ไม่ควรเอา ไม่ควรใช้

"ไม่ควรเอาของผู้อื่น"
"ไม่ควรใช้ของผู้อื่นที่เขาไม่ให้"

ไม่เอา ไม่ใช้ รวมถึงรูปหรือนาม

คิดดี พูดดี ทำดี

"คิดดี พูดดี ทำดี ด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"คิดดี พูดดี ทำดี ด้วยความปรารถนาดี การรู้คุณแทนคุณ ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม การรู้จักวางเฉย รู้จักปล่อยวาง การรู้จักออกจาก ความมีอิสระ"
"มีเป้าหมายเป็นคิดดี พูดดี ทำดี"
"การคิดดี พูดดี ทำดี ทำให้มีความสุข ไม่เบียดเบียนกัน"

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

หลักการแก้ปัญหา

หลักการแก้ปัญหา คือ
๑. รับรู้ ระบุปัญหาตามจริง
๒. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหา ตั้งสมมุติฐาน
๓. ทดลองแก้ปัญหา ทำการแก้ปัญหา
๔. สรุปผล บันทึกผล

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

การพึ่งพาภายในขันธ์หรือภายนอกขันธ์

"พึ่งพาภายในขันธ์ของตนเองหรือพึ่งพาภายนอกขันธ์ของตนเอง โดยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

แรงผลักดัน

"ควรมีแรงผลักดัน อย่างเป็นฝ่ายธรรมะ เป็นความถูกต้องความดี ไม่เป็นกิเลสฝ่ายอธรรม"
"มีแรงผลักดันเป็นความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ยึดถือความถูกต้องความดี

"ไม่ควรขอไปทีในความถูกต้องความดี"
"ควรยึดถือความถูกต้องความดี"
"สามารถวางเฉย พักเอาไว้ เป็นทางสายกลาง ในความถูกต้องความดีได้"

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

เจตนา ปรุงแต่ง

"ไม่ควรมีเจตนาปรุงแต่งอย่างเป็นอธรรม เป็นวิชาที่ผิดที่ไม่ดี หรือเป็นกิเลส"
"รักษาเจตนาที่ไม่ปรุงแต่งอย่างเป็นอธรรม เป็นวิชาที่ผิดที่ไม่ดี หรือเป็นกิเลส"
"ไม่ควรปรุงแต่งอย่างเป็นอธรรม เป็นวิชาที่ผิดที่ไม่ดี หรือเป็นกิเลส"

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

มีมูลค่า

"ทำสิ่งต่างๆ ให้มีมูลค่า โดยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

สิ่งต่างๆ ในที่นี้รวมถึงรูปหรือนาม

อยู่กับโลกที่เป็นจริง

"ควรอยู่กับโลกที่เป็นจริง ไม่ควรอยู่กับโลกที่ไม่เป็นจริง"
"เราสามารถสร้างเหตุที่ถูกที่ดี จะทำให้เราอยู่กับโลกที่เป็นจริงได้"

โลกที่เป็นจริง คือ โลกที่เป็นไปตามความจริง ถูกหรือผิดตามจริง ถูกกฎของธรรมชาติ มีเหตุมีผล
โลกที่ไม่เป็นจริง คือ โลกที่ไม่เป็นไปตามความจริง คิดเอาเอง ผิดแต่ว่าถูก ถูกแต่ว่าผิด ผิดกฎของธรรมชาติแต่ว่าถูกกฎของธรรมชาติ ไม่มีเหตุไม่มีผล ไม่มีกฎแห่งกรรม ไม่มีกรรมไม่มีหนี้

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

พลังบวก

"พลังบวก คือ ความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"พลังบวก คือ การคิด พูด สื่อ กระทำความถูกความดี"
"พลังบวก คือ ชนะอธรรม ไม่คิด พูด สื่อ กระทำอย่างเป็นอธรรมหรือเป็นความผิดความไม่ดี ไม่เบียดเบียน"
"ควรมีและใช้พลังบวก"
"พลังบวก จะทำให้มีความสุขได้"
"พลังบวก จะทำให้ไม่ทุกข์ หรือลดความทุกข์ได้"

การไม่เบียดเบียน

"ไม่เบียดเบียน อย่างเป็นทางสายกลาง"
"ไม่เบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่น อย่างเป็นทางสายกลาง"
"ไม่เบียดเบียนด้วยจิตสำนึก ธรรมะ ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม วิชา"
"ไม่เบียดเบียน ทั้งทางรูปหรือทางนาม"
"การไม่เบียดเบียน เกิดขึ้นได้โดยการไม่มีเจตนาเบียดเบียนต่อตนเองหรือผู้อื่น อย่างเท่ากัน"
"การไม่เบียดเบียน เกิดขึ้นได้โดยการไม่เบียดเบียนต่อตนเองหรือผู้อื่น อย่างเท่ากัน"

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ทางสายกลางทางรูป ทางนาม

ทางสายกลาง คือ ไม่หย่อนเกิน ไม่ตึงเกิน
ทางสายกลางทางรูป คือ ทางสายกลางทางกาย กายภาพ แรงกาย ความเพียรพยายามทางกาย เกี่ยวกับกายหรือรูปอื่นๆ
ทางสายกลางทางนาม คือ ทางสายกลางทางความคิด ทางใจ แรงใจ ความเพียรพยายามทางใจ เกี่ยวกับใจหรือนามอื่นๆ

"ทางสายกลางมีทั้งทางรูป ทางนาม"
"ควรทำให้เป็นทางสายกลางทั้งทางรูปและทางนาม"
"การเป็นทางสายกลางทางรูป ทางนาม จะทำให้ไม่ทุกข์กาย ไม่ทุกข์ใจ หรือลดความทุกข์ทางกาย ทางใจได้"

สสาร สารประกอบทางธรรม

เราสามารถหา เรียง ทำ สร้าง เก็บ หรือใช้สสาร สารประกอบทางธรรม อย่างถูกหลักธรรม ถูกหลักวิชา ถูกกฎของธรรมชาติ เพื่อ
- เว้น ตัดอธรรม อวิชา กิเลส
- คิด สร้าง ใช้ธรรมะ วิชา
- คิด สร้าง ใช้สมบัติรูป สมบัตินาม

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

มีค่า มีประโยชน์ ไม่มีค่า ไม่มีประโยชน์

"ควรรู้ว่าสิ่งใดเป็นสิ่งมีค่า มีประโยชน์ สิ่งใดเป็นสิ่งไม่มีค่า ไม่มีประโยชน์ หรือมีโทษ"
"ความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม การปรารถนาดี การรู้จักให้รู้จักรับ การรู้คุณแทนคุณ ความอดทน ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม ความตรง ความจริง ความจริงใจ วิชา ความเหมาะสม ความพอเหมาะ ความไม่เบียดเบียน การรู้จักวางเฉย การรู้จักออกจาก ความอิสระ ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง เป็นสิ่งที่มีค่า มีประโยชน์ จึงควรปฏิบัติ"
"ความผิด อธรรม วิชาที่ผิดที่ไม่ดี กิเลส เป็นสิ่งที่ไม่มีค่า ไม่มีประโยชน์ หรือมีโทษ จึงไม่ควรปฏิบัติ"

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

มีความเป็นกลาง มีความเป็นธรรม

มีความเป็นกลาง มีความเป็นธรรม
"ควรมีความเป็นกลางทั้งต่อตนเองและผู้อื่น"
"ควรมีความเป็นธรรมทั้งต่อตนเองและผู้อื่น"

การปรารถนาดี
"ควรมีความปรารถนาให้ตนเองหรือผู้อื่นถูก ดี ได้ดี มีความสุข อย่างเป็นกลาง เป็นธรรม"
"ควรมีความปรารถนาให้ตนเองหรือผู้อื่นไม่ผิด ไม่ชั่ว ไม่ได้ไม่ดี ไม่ทุกข์ อย่างเป็นกลาง เป็นธรรม"
"มีการปรารถนาดีแล้ว ควรรู้จักการวางเฉยด้วย"

วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

แพ้ ชนะ

"ชนะที่ถูก คือ มีความถูกความดี มีความเพียรพยายาม มีความอดทน"
"ไม่ควรแพ้อธรรม ชนะธรรมะ ควรชนะอธรรม"
"ควรชนะอธรรมทุกรูปแบบ"
"ชนะอธรรมเพื่อความสงบสุข อยู่ได้อย่างไม่เบียดเบียน ไม่ทุกข์"

ไม่ทุกข์ทรมาน

"เมื่อมีเหตุ ย่อมมีผล เราควรกระทำเหตุอย่างไร เพื่อให้ผลเป็นไม่ทุกข์ทรมาน"
"เมื่อมีเหตุ ย่อมมีผล เราควรกระทำเหตุอย่างไร เพื่อให้ผลเป็นไม่ทุกข์ทรมานจากการชดใช้กรรม ชดใช้หนี้"
"การทำเหตุเป็นความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม ความปรารถนาดี ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม ความเหมาะสม ความพอเหมาะ การรู้จักให้รู้จักรับ การรู้คุณแทนคุณ ความตรง ความจริง ความจริงใจ วิชา ความไม่เบียดเบียน การรู้จักวางเฉย การรู้จักออกจาก ความอิสระ ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง จะทำให้ผลเป็นไม่ทุกข์ไม่ทรมาน"

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

การช่วยเหลือ ประคับประคอง

"ช่วยเหลือ ประคับประคองตนเองหรือผู้อื่น ด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม ความตรง ความจริง ความจริงใจ วิชา การรู้จักวางเฉย การรู้จักออกจาก ความอิสระ ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

การทำให้ไม่เป็นกิเลส

"การทำให้ไม่เป็นกิเลส ทำได้โดยการคิด พูด สื่อ กระทำ โดยไม่ใช้กิเลส มีเจตนาไม่ใช้กิเลส และรักษาเจตนาที่ไม่ใช้กิเลส ด้วยความถูก ธรรมะ ศีล สมาธิ ปัญญา ธรรมฝ่ายดีงาม วิชา ความเพียรพยายาม ทางสายกลาง"
"การทำให้ไม่เป็นกิเลส ทำได้โดยการอดทนรักษาเจตนาที่ไม่ใช้กิเลส ด้วยความถูก ธรรมะ ศีล สมาธิ ปัญญา ธรรมฝ่ายดีงาม วิชา ความเพียรพยายาม การรู้จักวางเฉย รู้จักปล่อยวาง ละวาง การไม่ยึดติด ไม่ยึดมั่นถือมั่น การรู้จักออกจาก ทางสายกลาง"
"การปลีกตัว ไม่หมกมุ่นกับกิเลส ทำได้โดยการปฏิบัติความถูก ธรรมะ ศีล สมาธิ ปัญญา ธรรมฝ่ายดีงาม วิชา ทางสายกลาง ได้"

บทความที่ได้รับความนิยม