วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566

การมี ใช้ทักษะ วิชา ไม่รับสิ่งตอบแทนจากอธรรมหรือกิเลส

การมี ใช้ทักษะ วิชา
"มี ใช้ทักษะ วิชา ด้วยความไม่เป็นอธรรม"
"มี ใช้ทักษะ วิชา ด้วยความไม่เป็นกิเลส"

ไม่รับสิ่งตอบแทนจากอธรรมหรือกิเลส
"ไม่รับสิ่งตอบแทนจากการปฏิบัติอธรรมหรือกิเลส"
"ไม่รับสิ่งตอบแทนจากการเจาะระบบอย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส"

วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566

แปลงความสุขหรือสิ่งที่ได้รับ เนื้อของสิ่งที่ได้รับ

แปลงความสุขหรือสิ่งที่ได้รับ
"ปฏิบัติธรรมะนำ แล้วเราสามารถแปลงความสุขหรือสิ่งที่ได้รับที่ไม่เป็นอธรรมทางพื้นฐาน รูปหรือรูปธรรม อรูปหรือนามธรรม ไปเป็นความสุขหรือการได้รับทางธรรมอย่างเป็นวิชา มีขีดจำกัด ไม่เป็นอธรรม ไม่เป็นกิเลสได้ จะทำให้ถูกต้อง ดีอยู่ได้"
"สามารถแปลงความสุขหรือสิ่งที่ได้รับที่ไม่เป็นอธรรมทางพื้นฐาน รูปหรือรูปธรรม อรูปหรือนามธรรม ไปเป็นความสุขหรือการได้รับทางธรรม ได้โดยการปฏิบัติธรรมะ ปฏิบัติธรรม ปฏิบัติสมาธิ ใช้วิชา"
"เลือกวางเฉยไม่รับความสุขทางพื้นฐาน รูปหรือรูปธรรม อรูปหรือนามธรรม เลือกรับความสุขทางธรรมอย่างเป็นวิชา มีขีดจำกัด ไม่เป็นอธรรม ไม่เป็นกิเลสได้"
"ความสุขทางธรรมจะเบากว่า ละเอียดกว่า ประณีตกว่าความสุขทางพื้นฐาน รูปหรือรูปธรรม อรูปหรือนามธรรม"
"การรับความสุขหรือสิ่งต่างๆ ทางพื้นฐาน รูปหรือรูปธรรม อรูปหรือนามธรรม โดยตรงจะทำให้เสีย ผิด ไม่ดี หรือเกิดอธรรม เกิดกิเลสได้"
"สามารถรับความสุขหรือสิ่งต่างๆ ทางธรรม อย่างเป็นวิชา มีขีดจำกัด ไม่เป็นอธรรม ไม่เป็นกิเลส ได้โดยตรง จะทำให้ถูกต้อง ดีอยู่ได้"

เนื้อของสิ่งที่ได้รับ
"สิ่งที่ได้รับจากเนื้อหยาบไปละเอียดเป็น สิ่งที่ได้รับทางพื้นฐาน สิ่งที่ได้รับทางรูปหรือรูปธรรม สิ่งที่ได้รับทางอรูปหรือนามธรรม สิ่งที่ได้รับทางธรรม ตามลำดับ"

การปรารถนาดี

"มีความปรารถนาดีต่อตนเองหรือผู้อื่น อย่างเป็นกลาง เป็นธรรม"
"มีความปรารถนาให้ตนเองหรือผู้อื่นไม่ได้ไม่ดี อย่างเป็นกลาง เป็นธรรม"
"มีการปรารถนาดีแล้ว ควรรู้จักการวางเฉยด้วย"

ย่อ
"มีความปรารถนาดี อย่างเป็นกลาง เป็นธรรม"
"มีความปรารถนาให้ไม่ได้ไม่ดี อย่างเป็นกลาง เป็นธรรม"
"มีการปรารถนาดีแล้ว ควรรู้จักการวางเฉยด้วย"

วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566

การปฏิบัติ

"การปฏิบัติที่ควร คือ คิดธรรมะทั้งหมด คิดธรรมฝ่ายดีงามทั้งหมด คิดอธรรมทั้งหมด คิดกิเลสทั้งหมด แล้วเอาชนะอธรรมทั้งหมด เอาชนะกิเลสทั้งหมด ปฏิบัติธรรมะ ปฏิบัติธรรมฝ่ายดีงาม"

วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2566

ถูกดี ผิดไม่ดี

"ควรรู้ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ถูกที่ดี คือถูกหลักธรรม ถูกหลักธรรมฝ่ายดีงาม ถูกหลักวิชา
รู้ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ผิดที่ไม่ดี คือผิดหลักธรรม ผิดหลักธรรมฝ่ายดีงาม หรือผิดหลักวิชา"

"มีเป้าหมายเป็นสิ่งที่ถูกที่ดี ไม่มีเป้าหมายเป็นสิ่งที่ผิดที่ไม่ดี"
"ปรารถนาในสิ่งที่ถูกที่ดี ไม่ปรารถนาในสิ่งที่ผิดที่ไม่ดี"
"มีแรงผลักดันที่ถูกที่ดี ไม่มีแรงผลักดันที่ผิดที่ไม่ดี"
"เลือกในสิ่งที่ถูกที่ดี ไม่เลือกในสิ่งที่ผิดที่ไม่ดี"
"เข้าหาในสิ่งที่ถูกที่ดี ไม่เข้าหาในสิ่งที่ผิดที่ไม่ดี"
"ให้สิ่งที่ถูกที่ดีนำทางให้ ไม่ให้สิ่งที่ผิดที่ไม่ดีนำทางให้"
"ฝึกในสิ่งที่ถูกที่ดี ไม่ฝึกในสิ่งที่ผิดที่ไม่ดี"
"ตั้งหลักด้วยสิ่งที่ถูกที่ดี ไม่ตั้งหลักด้วยสิ่งที่ผิดที่ไม่ดี"
"ทำในสิ่งที่ถูกที่ดี ไม่ทำในสิ่งที่ผิดที่ไม่ดี"
"พึ่งพาในสิ่งที่ถูกที่ดี ไม่พึ่งพาในสิ่งที่ผิดที่ไม่ดี"
"รับในสิ่งที่ถูกที่ดี ไม่รับในสิ่งที่ผิดที่ไม่ดี"
"ให้ในสิ่งที่ถูกที่ดี ไม่ให้ในสิ่งที่ผิดที่ไม่ดี"
"ช่วยเหลือด้วยสิ่งที่ถูกที่ดี ไม่ช่วยเหลือด้วยสิ่งที่ผิดที่ไม่ดี"
"น้อมนำ นำพาในสิ่งที่ถูกที่ดี ไม่น้อมนำ ไม่นำพาในสิ่งที่ผิดที่ไม่ดี"

เตือน แก้ปัญหา

"ช่วยบอก เตือนกัน เพื่อไม่ให้ผิดพลาด
และช่วยกันแก้ปัญหา อย่างถูกต้อง ถูกคลองธรรม เป็นวิชา ไม่เบียดเบียนกัน ไม่เป็นอธรรมหรือไม่เป็นกิเลส"

วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2566

จิตที่ปกติ

จิตที่ปกติ ประกอบไปด้วย
- การจดจ่อกับสิ่งต่างๆ ทีละสิ่ง
- รับรู้สิ่งที่จดจ่อแต่ละสิ่ง
- ความอิ่มใจ
- ความสุข
- ความวางเฉย
- จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งในแต่ละสิ่งที่จดจ่อ

วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2566

ปีติ

"ปีติ คือ ความอิ่มใจ ปีตินี้เป็นอาหารหล่อเลี้ยงใจ เกิดจากการปฏิบัติธรรม สมาธิ ธรรมฝ่ายดีงาม ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

ความผ่อนคลาย ไม่กระสับกระส่าย ไม่เครียด

"ความผ่อนคลาย ไม่กระสับกระส่าย ไม่เครียด โดยธรรมฝ่ายดีงาม การรู้จักวางเฉย วางใจเป็นกลาง รู้จักปล่อยวาง รู้จักออกจาก อย่างถูกหลักธรรม ถูกหลักวิชา ไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง"

ธรรมวิจัย

"ธรรมวิจัย คือ การเฟ้น หรือการเลือกเฟ้นธรรมะมาใช้ได้อย่างถูกต้อง ในเหตุการณ์หรือการกระทำต่างๆ"

ธรรมแห่งชัยชนะ

ธรรมแห่งชัยชนะ คือ ธรรมะ ๔
ชนะ หมายถึงชนะความผิดความไม่ดี กิเลส

ธรรมะ ๔ คือ
- ความถูก ธรรมะ ทางสายกลาง
- ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม
- วิชา
- ความไม่เป็นกิเลส

ไม่มุ่งไปทางเสื่อม มุ่งไปทางเจริญ
ควรเอาชนะอธรรมทั้ง ๒๕ ข้อ ได้ครบทุกข้อ แล้วไม่ปฏิบัติอธรรม

วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2566

แนวติดลบ แนวศูนย์ แนวติดบวก

"ไม่ควรอยู่ในแนวติดลบ ควรอยู่ในแนวศูนย์ แนวติดบวก อย่างมีขอบเขตจำกัดตามกฎของธรรมชาติ ไม่เป็นกิเลส"
"ไม่ควรทำให้อยู่ในแนวติดลบ ควรทำให้อยู่ในแนวศูนย์ แนวติดบวก อย่างมีขอบเขตจำกัดตามกฎของธรรมชาติ ไม่เป็นกิเลส"

วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566

อยากมี

"ควรอยากมี อย่างเป็นธรรมะ ไม่เป็นอธรรม ไม่เป็นกิเลส
ควรเป็นกลาง อยากมีก็ไม่ใช่ ไม่อยากมีก็ไม่ใช่ อย่างเป็นธรรมะ ไม่เป็นอธรรม ไม่เป็นกิเลส
ควรไม่อยากมี อย่างเป็นธรรมะ ไม่เป็นอธรรม ไม่เป็นกิเลส"

วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2566

ถูกต้องดีงาม

"ไม่ปฏิบัติอธรรม ไม่ปฏิบัติกิเลส ตัดอธรรม ตัดกิเลส แล้วปฏิบัติความถูกต้องดีงาม"

วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2566

หลักการแยกแยะ

"ควรแยกแยะว่าสิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิด สิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี แล้วตอบได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลา และปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง"

วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566

ภายในเวลาที่จำกัด โอกาสที่จำกัด

"ควรกระทำภายในเวลาที่จำกัด ภายในโอกาสที่จำกัดตามกฎของธรรมชาติ"
"จะต้องหา เรียง ทำ สร้างภายในเวลาที่จำกัด ภายในโอกาสที่จำกัดตามกฎของธรรมชาติ"
"การใช้วิชา สามารถทำให้กระทำภายในเวลาที่จำกัด ภายในโอกาสที่จำกัดตามกฎของธรรมชาติได้"

วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2566

สิ่งที่ไม่ควรมีเหลือเก็บเอาไว้

"สิ่งที่ไม่ควรมีเหลือเก็บเอาไว้ คือ อธรรม บาป กิเลส"

การเชื่อถือ รับมาปฏิบัติ

"เชื่อถือในความถูก รับความถูกมาปฏิบัติ
ไม่เชื่อถือในความผิด ไม่รับความผิดมาปฏิบัติ"

ถูก หมายถึง ถูกหลักธรรม ถูกหลักวิชา
ผิด หมายถึง ผิดหลักธรรม ผิดหลักวิชา

วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2566

แยกแยะ ขีดจำกัดในเวลาต่างๆ

"ควรแยกแยะส่วนของตนเองและส่วนของผู้อื่นอย่างถูกต้อง ใช้ในส่วนของตนเอง ไม่ก้าวล่วงใช้ส่วนของผู้อื่น"
"การใช้ในส่วนของตนเองเป็นสิ่งที่ถูกต้อง มีคุณประโยชน์มาก"
"การใช้ในส่วนของตนเองทำให้รู้จักอิ่ม รู้จักพอ"
"ควรแยกแยะว่าสิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิด สิ่งไหนเป็นของดี สิ่งไหนเป็นของไม่ดี แล้วตอบได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลา และปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง"
"การกระทำ ควรไม่เกินขีดจำกัดในเวลาต่างๆ ในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต"
"การอยู่กับปัจจุบัน ไม่ควรเกินขีดจำกัดของที่เวลาปัจจุบัน"

วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2566

อุปสรรคต่อความถูกความดี

"อุปสรรคต่อความถูกความดี คือการติด"
"ไม่พึ่งพาการติดแล้ว สามารถพึ่งพาธรรมะ ๔ ได้"

สิ่งที่มักจะติด
- อธรรม
- ความหย่อนเกินหรือความตึงเกิน
- ความผิดความไม่ดี
- วิชาที่ผิดที่ไม่ดี
- กิเลส ความอยาก ความโลภ ความโกรธ ความหลง
- พื้นฐาน คือ รูป รส กลิ่น เสียง กายสัมผัส ทางใจ
- รูปธรรม
- นามธรรม
- ธรรม
- การโกง
- ชื่อเสียง หน้าตา

ธรรมะ ๔ คือ
- ความถูก ธรรมะ ทางสายกลาง
- ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม
- วิชา
- ความไม่เป็นกิเลส

วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2566

เริ่มต้น

"เมื่อเริ่มต้น สามารถเลือกธรรมะ ธรรมฝ่ายดีไม่มากนักมาปฏิบัติให้ถูกต้อง แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างเป็นวิชา มีขีดจำกัด"

วันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2566

การอยู่ที่ดีงาม

"การอยู่ที่ดีงาม เกิดจากการปฏิบัติธรรมฝ่ายดีงาม"
"ควรมีการอยู่ที่ดีงาม"

วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2566

รักษา กู้คืนกลับมา

"พยายามรักษาความถูกความดีที่มีอยู่เอาไว้ ด้วยธรรมะ ธรรมฝ่ายดี วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"กู้คืนความถูกความดีที่เคยมีอยู่ในอดีต ให้คืนกลับมาได้ ด้วยธรรมะ ธรรมฝ่ายดี วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

การให้ชนะ พัฒนาตนเองเพื่อชนะ

การให้ชนะ
"ให้ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความถูกต้องดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลางชนะ"

พัฒนาตนเองเพื่อชนะ
"การพัฒนาตนเอง จะสามารถทำให้เอาชนะอธรรม กิเลส หรือปัญหาได้"

ปัญญา วิชา ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

"ปัญญา วิชา ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม จะสามารถทำให้คิดและปฏิบัติธรรมะ คิดและปฏิบัติธรรมฝ่ายดีงามได้ สร้าง ทำให้สำเร็จสมหวัง ทำให้เกิดขึ้นมา ทำให้สิ้นสุดไป ตัดอธรรม ตัดกิเลส แก้ปัญหาได้ทุกปัญหา"
"การทำอะไรควรทำอย่างมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม"

วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566

ความถูก ความจริง เจตนา การกระทำ

"อยู่กับความถูก อยู่กับความจริง"
"กระทำความถูก ตามความเป็นจริง"

ความจริง คือ
- มีเจตนา
- มีการกระทำ
- มีกรรม
- มีหนี้
เจตนา การกระทำจะเป็นเหตุ กรรม หนี้จะเป็นผล

เจตนา การกระทำ
"สิ่งต่างๆ จะเริ่มต้นจากเจตนา แล้วตามด้วยการกระทำ"

"ไม่ควรมีเจตนา การกระทำเป็นความผิด อธรรม ธรรมฝ่ายไม่ดี ความไม่ดี วิชาที่ผิดที่ไม่ดี กิเลส ความไม่ใช่ทางสายกลาง"
"ไม่ควรมีเจตนา การกระทำเป็นความอยาก ความโลภ ความอยากมี ความโลภมี อย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส"

"ควรมีเจตนา การกระทำเป็นความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"ควรมีเจตนา การกระทำที่ถูกที่ดี และมีเจตนา การกระทำที่เป็นกลาง"

บทความที่ได้รับความนิยม