วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ตั้งมั่น ปล่อยวาง ทางสายกลาง

ตั้งมั่น ปล่อยวาง
"รู้จักตั้งมั่น รู้จักปล่อยวาง เพื่อให้เป็นทางสายกลางและสำเร็จได้"
"ตั้งมั่นเมื่อจะหย่อนเกินหรือพอดี ปล่อยวางเมื่อจะตึงเกิน"

ทางสายกลาง
ทางสายกลาง คือ ไม่หย่อนเกิน ไม่ตึงเกิน ไม่เกินขีดจำกัด
"ทางสายกลางเป็นทางที่แก้ปัญหาได้ ทำให้สำเร็จได้ ไม่เป็นโมฆะ เป็นทุกข์น้อยที่สุด"

การอยู่ในระยะที่ปลอดภัยจากอธรรม กิเลส

"ควรปฏิบัติความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง เพื่อให้อยู่หรืออยู่อย่างเป็นแนวบวกในระยะที่ปลอดภัยจากอธรรม กิเลส"

"ควรให้แนวบวก แนวกลาง แนวลบ มีขนาดไม่เกินขีดจำกัด"

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม วิชา ช่วยเหลือ

"ธรรมะ จะช่วยเหลือทางจิตใจ ทางวิชา
ธรรมฝ่ายดีงาม วิชา จะช่วยเหลือทางจิตใจและทางรูปนาม"

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2565

เอาชนะ ละ ตัด ปฏิบัติ

"เอาชนะ ละ ตัดความผิด อธรรม ธรรมฝ่ายไม่ดี ความไม่ดี วิชาฝ่ายที่ผิดที่ไม่ดี กิเลส ความไม่เป็นทางสายกลาง
แล้วปฏิบัติความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"ทำให้เป็นแนวบวก"

ส่วนที่เสีย กรรมที่เสีย ก้าวหน้า ถดถอย

ส่วนที่เสีย กรรมที่เสีย
"ควรไม่ให้ส่วนที่เสียเพิ่มขึ้น ควรให้ส่วนที่เสียลดลง"
"ควรไม่ให้กรรมที่เสียเพิ่มขึ้น ควรให้กรรมที่เสียลดลง"

ก้าวหน้า ถดถอย
"ควรให้ความถูกความดีก้าวหน้า ให้ความผิดความไม่ดีถดถอย"

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2565

หลักฝึกปฏิบัติ

หลักฝึกปฏิบัติ ๒๒ ขั้น
   ขั้นที่ ๑ เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าหายใจออกยาว
   ขั้นที่ ๒ เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าหายใจออกสั้น
   ขั้นที่ ๓ รู้สึกตัวว่าลมหายใจเบา หรือหนัก หยาบ หรือละเอียด
   ขั้นที่ ๔ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๕ ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ อย่างถูกต้อง มีสติ

   ขั้นที่ ๖ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๗ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๘ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๙ ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ อย่างถูกต้อง มีสติ

   ขั้นที่ ๑๐ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๑๑ ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๑๒ ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๑๓ ทำจิตให้ปล่อยอยู่ อย่างถูกต้อง มีสติ

   ขั้นที่ ๑๔ รู้ถึงการเกิด อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๑๕ รู้ถึงการสร้าง ก่อ อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๑๖ รู้ถึงการพัฒนา อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๑๗ รู้ถึงการปรับปรุง แก้ไข อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๑๘ รู้ถึงการทรงอยู่ อย่างถูกต้อง มีสติ

   ขั้นที่ ๑๙ การตามเห็น ความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๒๐ การตามเห็น ความจางคลาย อยู่เป็นประจำ อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๒๑ การตามเห็น ความดับไม่เหลือ อยู่เป็นประจำ อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๒๒ การตามเห็น ความสลัดคืน อยู่เป็นประจำ อย่างถูกต้อง มีสติ

องค์แห่งฌาน
    ๑. วิตก คำคำนี้ โดยทั่วไปแปลว่า ความตริหรือความตรึก. แต่ในภาษาสมาธิ คำว่า วิตกนี้ หาใช่ความคิดนึกตริตรึกอย่างใดไม่. ถ้าจะเรียกว่าเป็นความคิด ก็เป็นเพียงการกำหนดนิ่งๆ แนบแน่นอยู่ในสิ่งๆ เดียว, ไม่มีความหมายที่เป็นเรื่องเป็นราวอะไร.
    ๒. วิจาร คำคำนี้ โดยทั่วไป หมายถึงการตรึกตรอง หรือสอดส่องหรือวินิจฉัย แต่ในทางภาษาสมาธิ หาได้มีความหมายอย่างนั้นไม่ เป็นแต่เพียงอาการที่จิตรู้ต่ออารมณ์ที่กำหนดอยู่นั้น, ซึ่งในที่นี้ ได้แก่ลมหายใจ, อยู่อย่างทั่วถึง.
    ๓. ปีติ. คำนี้ ตามปรกติแปลว่าความอิ่มใจ. ในภาษาของสมาธิหมายถึงความอิ่มใจด้วยเหมือนกัน แต่จำกัดความเฉพาะความอิ่มใจที่ไม่เนื่องด้วยพื้นฐาน และต้องเป็นความอิ่มใจที่เกิดมาจากความรู้สึกว่าตนทำอะไรสำเร็จ หรือตนได้ทำสิ่งที่ควรทำเสร็จแล้ว หรือต้องเสร็จแน่ๆ ดังนี้เป็นต้นเท่านั้น.
    ๔. สุข. คำว่าสุขในที่นี้ หมายถึงสุขอันเกิดจากการที่จิตไม่ถูกนิวรณ์รบกวน รวมกันกับกำลังของปีติหรือปราโมทย์ ที่ได้ส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกอันเป็นสุขนี้ขึ้น.
    ๕. เอกัคคตา. เป็นคำที่ย่อมาจากคำว่า จิตเตกัคคตา (จิตต +เอกัคคตา) แปลว่าความที่จิตเป็นสิ่งซึ่งมียอดสุดเพียงอันเดียว. โดยใจความก็คือความที่จิตมีที่กำหนดหรือที่จด-ที่ตั้งเพียงแห่งเดียว.

มีหลักเกณฑ์ที่สรุปได้ ดังนี้ :
    ๑. ปฐมฌาน ประกอบด้วยองค์ห้า คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และ เอกัคคตา.
    ๒. ทุติยฌาน ประกอบด้วยองค์สาม คือ ปีติ สุข และ เอกัคคตา.
    ๓. ตติยฌาน ประกอบด้วยองค์สองคือ สุข และ เอกัคคตา.
    ๔. จตุตถฌาน ประกอบด้วยองค์สองคือ อุเบกขา และ เอกัคคตา.

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565

การเพิ่ม

"เพิ่มให้ธรรมะ ไม่เพิ่มให้อธรรม กิเลส"
"เพิ่มให้ความถูก ไม่เพิ่มให้ความผิด"
"เพิ่มให้ความดี ไม่เพิ่มให้ความไม่ดี"

ความถูก คือ ถูกหลักธรรม ถูกหลักธรรมฝ่ายดีงาม ถูกหลักวิชา ถูกกฎของธรรมชาติ ไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง
ความผิด คือ ผิดหลักธรรม ผิดหลักวิชา หรือผิดกฎของธรรมชาติ

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2565

สบายใจ

"สบายใจได้โดยการปฏิบัติความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

การชดใช้กรรม ชดใช้หนี้ แก้ไข

"หากทำไม่ถูกไม่ดี เบียดเบียน หรือรับมา สามารถชดใช้กรรม ชดใช้หนี้ แก้ไขได้โดยการปฏิบัติความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"ไม่ควรคิดว่าจะหนีกรรม หรือหนีหนี้"
"ไม่ควรหนีกรรม หรือหนีหนี้"
"สามารถผ่อนผันการชดใช้กรรม ชดใช้หนี้ ไปชดใช้ภายหลัง อย่างถูกต้องได้ หากมีความจำเป็น"

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565

การช่วยเหลือตนเอง

"ช่วยเหลือตนเองด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม วิชา การรู้จักวางเฉย การรู้จักออกจาก ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"ช่วยเหลือตนเองโดยการหา เรียง ทำ สร้าง รักษาสมบัติรูป สมบัตินามให้เป็นแนวบวกด้วยตนเอง มาเก็บหรือใช้ อย่างถูกหลักธรรม เป็นวิชา ไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง"

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565

กลุ่มมิตร

"ควรมีกลุ่มมิตรที่ถูกที่ดี"
"มีกลุ่มมิตรที่ถูกหลักธรรม ถูกหลักธรรมฝ่ายดีงาม มีความปรารถนาดี เป็นกลาง เป็นธรรม มีความตรง มีความจริง จริงใจ ถูกหลักวิชา รู้จักวางเฉย รู้จักออกจาก ไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง"

การทำให้ไม่ห่วง ไม่กังวล

"การทำให้ไม่ห่วง ไม่กังวลได้โดยความถูกความดี การปฏิบัติความถูกความดี วิชา ความไม่เป็นกิเลส"

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2565

สิ่งที่ไม่ทำให้ถูกให้ดีได้ สิ่งที่ทำให้ถูกให้ดีได้

สิ่งที่ไม่ทำให้ถูกให้ดีได้
"รูป รส กลิ่น เสียง กายสัมผัส รับรู้ทางใจ อย่างเป็นกิเลส เป็นสิ่งที่ไม่ทำให้ถูกให้ดีได้"
"การใช้รูปธรรม อรูปหรือนามธรรม ธรรม อย่างเป็นกิเลส เป็นสิ่งที่ไม่ทำให้ถูกให้ดีได้"

สิ่งที่ทำให้ถูกให้ดีได้
"ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม คุณธรรม การไม่เบียดเบียน ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง เป็นสิ่งที่ทำให้ถูกให้ดีได้"

การติดค้าง แฝงอยู่ในใจ และการแก้ไข

"หากเราปฏิบัติอธรรมหรือทำไม่ถูกไม่ดี จะทำให้กรรมหรือหนี้นั้นๆ ติดค้าง แฝงอยู่ในใจของเราไปตลอด ต้องชดใช้กรรม ชดใช้หนี้ให้หมด หรือแก้ไขเท่านั้นที่จะทำให้ไม่ติดค้าง ไม่แฝงในใจของเรา จึงไม่ควรปฏิบัติอธรรมเลย"
"การชดใช้กรรม ชดใช้หนี้ หรือแก้ไข สามารถทำได้โดยการทำถูกทำดี การวางเฉย วางใจเป็นกลาง"

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2565

หลัก

"หลักคือ ไม่เบียดเบียน ไม่เป็นกิเลส"
"ไม่เบียดเบียน ไม่เป็นกิเลส ด้วยวิชา ทางสายกลาง"
"ไม่เบียดเบียนต่อตนเองหรือผู้อื่น"
"ใช้การไม่เบียดเบียน ความไม่เป็นกิเลส เป็นเจตนา นำทาง เป็นพลัง เป็นแรงขับเคลื่อน เป็นเป้าหมาย"

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ใช้กับทุกด้าน

"ใช้ความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา การรู้จักวางเฉย การรู้จักออกจาก ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง กับทุกด้าน"

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2565

การอยู่ร่วมกัน

"ในการอยู่ร่วมกันควรพึ่งพาตนเองหรือตั้งหลัก โดยการคิด ปฏิบัติธรรมะ การหา เก็บ ใช้สมบัติรูป สมบัตินามด้วยตนเอง รักษาสวัสดิภาพของตนเอง อย่างถูกหลักธรรม ถูกหลักวิชา ไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง"
"ในการอยู่ร่วมกันควรมีการให้ การรับธรรมะ สมบัติรูป สมบัตินาม สวัสดิภาพ ด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม การรู้คุณแทนคุณ ความจริงใจ วิชา การรู้จักวางเฉย การรู้จักปล่อยวาง การรู้จักออกจาก ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"ในการอยู่ร่วมกันสามารถแลกเปลี่ยนสมบัติรูป สมบัตินาม ด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม การรู้คุณแทนคุณ ความจริงใจ วิชา การรู้จักวางเฉย การรู้จักปล่อยวาง การรู้จักออกจาก ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ไม่ควรใช้ขันธ์ในทางที่ผิด

"ไม่ควรใช้ขันธ์ในทางที่ผิด ไม่ว่าจะด้วยสิ่งใดก็ตาม เพื่อสิ่งใดก็ตาม"
"ไม่ควรใช้ขันธ์ในทางที่ผิดเพื่อรูป นาม"
"ไม่ควรใช้ขันธ์ในทางที่ผิดเพื่ออธรรม วิชาที่ผิดที่ไม่ดี หรือกิเลส"
"ไม่ควรใช้ขันธ์ในทางที่ผิดเพื่อความโลภ ความโลภในความมี ความโกรธ ความหลง"
"ไม่ควรใช้ขันธ์ในทางที่ผิดเพื่อความมี อย่างเป็นกิเลส"

แนวบวก มีค่าเป็นบวกในการทำงาน

ในการทำงาน สิ่งที่ควรเป็นแนวบวก มีค่าเป็นบวก คือ
- กำลัง แรงขับเคลื่อน
- ความคิด การวางแผน
- กระบวนการทำงาน
- ที่เก็บ

"ในการทำงาน ทำให้เป็นแนวบวก มีค่าเป็นบวกได้โดยการปฏิบัติความถูกความดี วิชา"

จิตใจที่ดีงาม

"มีจิตใจที่ดีงาม ด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม แนวบวก จิตสำนึกที่ถูกที่ดี ความเห็นที่ถูกที่ดี เจตนาที่ถูกที่ดี ความปรารถนาดี การคิดที่ถูกที่ดี การพูดหรือสื่อที่ถูกที่ดี การปฏิบัติที่ถูกที่ดี ความอดทน ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม ความจริงใจ วิชา การไม่เบียดเบียน การรู้จักวางเฉย การไม่ยึดมั่นถือมั่น ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"คุณของการมีจิตใจที่ดีงาม คือ มีความสุข สบายใจ ไม่ทุกข์ใจ เป็นคุณประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เป็นแนวบวก ไม่เบียดเบียน สงบสุข"

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2565

การหา เรียง ทำ สร้าง หรือได้มา

"การหา เรียง ทำ สร้าง หรือได้มา ไม่มีอะไรที่ได้เปล่า จะต้องเสียสมบัติรูปหรือสมบัตินามตามหลักธรรม ตามหลักวิชา ตามกฎของธรรมชาติจึงจะหา เรียง ทำ สร้าง หรือได้มา"
"ไม่ควรรับในสิ่งที่ได้เปล่า ไม่ควรรับในสิ่งที่เราไม่นำ​สมบัติรูปหรือสมบัตินามมาใช้อย่างถูกต้อง เลย"
"รับในสิ่งที่เรานำสมบัติรูปหรือสมบัตินามมาใช้อย่างถูกต้อง"

ถูกต้อง คือ ถูกหลักธรรม ถูกหลักวิชา ถูกกฎของธรรมชาติ

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ที่พึ่งที่ระลึก หลักการพัฒนาตนเอง

ที่พึ่งที่ระลึก
"ควรมีที่พึ่งที่ระลึกเป็นความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

หลักการพัฒนาตนเอง
"หลักการพัฒนาตนเองคือ ความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
ย่อ
"พัฒนาตนเองด้วยความถูกต้องความดี"

ธรรมที่ทำให้จับได้ มองเห็น

"ธรรมที่ทำให้จับได้ มองเห็น คือ ความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม ความตรง ความจริง วิชา การไม่ยึดติด ไม่ยึดมั่นถือมั่น การรู้จักวางเฉย การรู้จักปล่อยวาง การรู้จักออกจาก ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
ย่อ
"ธรรมที่ทำให้จับได้ มองเห็น คือ ความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

ธรรมที่ใช้รักษาตน ผู้อื่น หรือขันธ์อื่น

"ธรรมที่ใช้รักษาตน ผู้อื่น หรือขันธ์อื่น คือ ความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม ความเมตตา ความกรุณา การมีมุทิตา การไม่ล่วงเกิน ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม การรู้คุณแทนคุณ ความตรง ความจริง จริงใจ วิชา การรู้จักวางเฉย การรู้จักปล่อยวาง การรู้จักออกจาก ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
ย่อ
"ธรรมที่ใช้รักษาตน ผู้อื่น หรือขันธ์อื่น คือ ความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2565

การไม่โลภ ไม่โลภในความมี ไม่โกรธ ไม่หลง

"การไม่โลภ ไม่โลภในความมี ไม่โกรธ ไม่หลง ทำได้โดยวิชา การใช้ในส่วนของตนเอง ความพอเหมาะ พอดี การเข้าใจในรูป นาม ธรรม"

เป็นกลาง เป็นธรรม

"ควรมีความเป็นกลาง ความเป็นธรรม ใจที่เป็นกลาง ใจที่เป็นธรรม ต่อผู้อื่น หรือตนเอง"
"ควรคิด พูด สื่อ ปฏิบัติต่อผู้อื่น หรือตนเอง ด้วยความเป็นกลาง ความเป็นธรรม ใจที่เป็นกลาง ใจที่เป็นธรรม"
"ควรเป็นกลาง เป็นธรรม ต่อทุกสิ่ง"
"มองดูตนเองหรือผู้อื่น ด้วยความเป็นกลาง ความเป็นธรรม ความจริง"
"ควรรู้ใจเขาใจเรา ด้วยความเป็นกลาง ความเป็นธรรม"

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ไม่เจาะระบบ ไม่ถูกเจาะระบบ

"ไม่ควรเจาะระบบผู้อื่นอย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส ไม่ควรถูกผู้อื่นเจาะระบบอย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส"
"ไม่ควรเจาะระบบสิ่งอื่นอย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส"
"การไม่ให้ถูกเจาะระบบ ทำได้โดยการป้องกันและอุดช่องโหว่ด้วยธรรมะ วิชา การมีสติ มีสัมปชัญญะ"

บทความที่ได้รับความนิยม