วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565

ทำ ใช้ต้นฉบับ

"ควรทำต้นฉบับขึ้นมาอย่างถูกหลักธรรม ถูกหลักวิชา ถูกกฎของธรรมชาติ แล้วนำมาใช้ ปรับใช้หรือประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ"
"สามารถปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมต้นฉบับให้ถูกต้องหรือดีขึ้นได้"
"การทำ ใช้ต้นฉบับอย่างถูกต้อง จะทำให้เป็นทางสายกลาง ไม่หย่อนเกิน ไม่ตึงเกินได้"

ต้นฉบับ หมายถึง แบบแผนการกระทำที่เป็นต้นฉบับ

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2565

บรรเทากิเลส ความโลภ โกรธ หลง

"บรรเทากิเลส ความโลภ โกรธ หลง ได้โดยการปฏิบัติความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม วิชา การรู้จักวางเฉย การรู้จักออกจาก ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง อย่างสม่ำเสมอ เสมอต้นเสมอปลาย"

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565

ค่าของความถูก

"ไม่ควรมองข้ามค่าของความถูก"
"ควรสนใจความถูกและค่าของความถูก"
"ควรดูค่าของความถูก"
"ควรปฏิบัติให้มีค่าของความถูกมีเพียงพอ"

ค่า เป็นเชิงปริมาณ มาก น้อย
ความถูก คือ ความถูกหลักธรรม ถูกหลักวิชา

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2565

เว้นช่องไฟทางนาม มิติ

เว้นช่องไฟทางนาม
"ควรเว้นช่องไฟทางนามอย่างถูกหลักธรรม ถูกหลักวิชา ถูกกฎของธรรมชาติ ไม่เป็นกิเลส ด้วย"

มิติ
"ที่ที่อยู่จริงจะมีหลายมิติ
การคิด พูด สื่อ กระทำ จริงๆ จะมีหลายมิติ"
"สามารถคิด พูด สื่อ กระทำทีละหลายมิติได้ตามหลักวิชา"

มิติ คือ การวัด ด้าน มุมมอง

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2565

การกระทำ และที่ควรอยู่

การกระทำ และที่ควรอยู่
"กระทำความถูกความดี และอยู่ในที่ไม่เป็นความโลภ ไม่เป็นความโกรธ ไม่เป็นความหลง"

การจัดการความโลภ ความโกรธ ความหลง
"สามารถแยกความโลภ ความโกรธ ความหลง ออกจากกันด้วยธรรมะ การวางเฉย วิชา แล้วจัดการให้ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ไปทีละอย่าง"
"สามารถแยกความโลภออกจากกันด้วยธรรมะ การวางเฉย วิชา แล้วจัดการให้ไม่โลภไปทีละอย่าง"
"สามารถแยกความโกรธออกจากกันด้วยธรรมะ การวางเฉย วิชา แล้วจัดการให้ไม่โกรธไปทีละอย่าง"
"สามารถแยกความหลงออกจากกันด้วยธรรมะ การวางเฉย วิชา แล้วจัดการให้ไม่หลงไปทีละอย่าง"

ไม่เป็นความโลภ ไม่เป็นความโกรธ ไม่เป็นความหลง
"ไม่เป็นความโลภ ไม่เป็นความโกรธ ไม่เป็นความหลง โดยการปฏิบัติความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

เป็นประโยชน์ เป็นโทษ
"ความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นโทษ จึงควรปฏิบัติ"
"การเบียดเบียน เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เป็นโทษต่อทั้งตนเองและผู้อื่น จึงไม่ควรเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น"

การไม่เบียดเบียนตนเอง
"การเบียดเบียนตนเอง คือ การทำให้ตนเองเป็นทุกข์ เดือดร้อน การปฏิบัติอธรรม เบียดเบียนผู้อื่น การมีและใช้วิชาที่ผิดที่ไม่ดี การปฏิบัติอย่างเป็นกิเลส"
"การไม่เบียดเบียนตนเอง คือ การทำให้ตนเองไม่เป็นทุกข์ ไม่เดือดร้อน การไม่ปฏิบัติอธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น การมีและใช้วิชาที่ถูกที่ดี การปฏิบัติอย่างไม่เป็นกิเลส"

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2565

สิทธิ์ในความถูกความดี

"การทำให้มีสิทธิ์ในความถูกความดี ทำได้โดยการปฏิบัติธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความถูกความดี วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"ควรได้รับ มี รักษา และใช้สิทธิ์ในความถูกความดี คือ สิทธิ์ในธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"ในการกระทำใดๆ ก็ตาม ควรมีและใช้สิทธิ์ในความถูกความดีสำหรับการกระทำนั้นๆ"

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565

แรงขันธ์

"ออกแรงขันธ์อย่างมีขีดจำกัดด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"เราสามารถพัก เพื่อฟื้นแรงขันธ์ อย่างถูกหลักธรรม ถูกหลักวิชา ถูกกฎของธรรมชาติ ไม่เป็นกิเลส ได้"
"ออกแรงขันธ์ในทางที่ถูกที่ดีด้วยวิชาให้เพียงพอ"
ย่อ
"มีแรงขันธ์ด้วยความถูกความดี"

ใจไม่ได้ดื้อด้าน ใจไม่ได้ผิดหรือไม่ดี

ใจไม่ได้ดื้อด้าน
"ความจริงใจไม่ได้ดื้อด้าน แต่ตัวที่ดื้อด้านคือกิเลสตัณหา
เราต้องหยุดมัน หยุดความดื้อด้านของใจ"

ใจไม่ได้ผิดหรือไม่ดี
"เดิมใจไม่ได้ผิดหรือไม่ดี แต่ตัวที่ผิดหรือไม่ดีคือกิเลสตัณหา
เราต้องหยุดมัน หยุดความผิดความไม่ดีของใจ"

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565

สรุปข้อคิดธรรมะ

สรุปข้อคิดธรรมะ สิ่งที่ควร คือ
"กระทำความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา อย่างไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง"

ไม่เป็นกิเลส คือ ไม่เป็นความโลภ ไม่เป็นความโกรธ ไม่เป็นความหลง

หรือ
"กระทำความถูกความดี ไม่เป็นความโลภ ไม่เป็นความโกรธ ไม่เป็นความหลง"

ความผิดพลาดในการกระทำ

ความผิดพลาดในการกระทำ
"การกระทำบางอย่างก็ผิดพลาดได้บ้าง แล้วแก้ไขซ่อม การกระทำบางอย่างหลายๆ อย่างก็ไม่สามารถผิดพลาดได้เลย หากผิดพลาดก็จะต้องเริ่มต้นทำใหม่"

ความผิดพลาดในการทำงาน
"การทำงานจะผิดพลาดได้บ้าง แล้วแก้ไขซ่อม"

ความถูก

"ไม่กระทำความผิด กระทำความถูก"

สิทธิ์ในการกระทำความถูกความดี

"ไม่มีผู้ใด แม้แต่ธรรมชาติก็ตามที่จะตัดสิทธิ์ในการกระทำความถูกความดีของเราได้"

การทำ ใช้ มี

"หากผิดหลักคลองธรรม ก็ยังไม่ทำ ยังไม่ใช้ ยังไม่มี หากถูกหลักคลองธรรม ก็ทำได้ ใช้ได้ มีได้"

การเรียงถูกเนื้อนาม ถูกลำดับ

"ควรเรียงถูกเนื้อนาม ถูกลำดับ อย่างถูกหลักธรรม ถูกหลักวิชา ถูกกฎของธรรมชาติ ไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง"

ขอบเขตจำกัด ขีดจำกัด

"ควรมีขอบเขตจำกัด มีขีดจำกัดอย่างถูกหลักธรรม ถูกหลักวิชา ถูกกฎของธรรมชาติ ตามกาล เป็นทางสายกลาง ในทุกๆ ด้าน"
"ไม่ควรเกินขอบเขตจำกัด หรือเกินขีดจำกัด"

การตั้งหลัก

"ตั้งหลักด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา การรู้คุณแทนคุณ ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"ในตอนเริ่มต้น การตั้งหลักควรพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด และรู้คุณแทนคุณ"
หรือ
"ตั้งหลักด้วยความถูกความดี ความไม่เป็นกิเลส"
"ตั้งหลักด้วยธรรมชาติฝ่ายที่ถูกที่ดี"

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2565

อยู่กับปัจจุบัน

"อยู่กับปัจจุบัน ไม่กังวลอดีตหรืออนาคต
ปัจจุบันที่ดี จะทำให้อนาคตดีได้"

การใช้

"ใช้ อย่างมีค่า มีประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่น พอเหมาะ ด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม การรู้คุณแทนคุณ ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม วิชา การรู้จักวางเฉย ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"ใช้ในส่วนของตนเอง ไม่ใช้ในส่วนของผู้อื่น"

ลักษณะของการมีกิเลส ความไม่เป็นกิเลส

ลักษณะของการมีกิเลส
"ลักษณะของการมีกิเลส คือ มีการติด ติดในความสุข ติดในความทุกข์ ติดในที่พึงพอใจ ติดในที่ไม่พึงพอใจ ติดในสมบัติรูป ติดในสมบัตินาม ไม่สามารถละวางได้"

ความไม่เป็นกิเลส
"ความไม่เป็นกิเลส เกิดขึ้นได้โดยการปฏิบัติความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม การรู้จักให้รู้จักรับ ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม การรู้คุณแทนคุณ ความตรง ความจริง ความจริงใจ วิชา ความพอเหมาะ การรู้จักวางเฉย การรู้จักออกจาก การรู้จักสละ การไม่เบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่น ความไม่โลภ ความไม่โกรธ ความไม่หลง ทางสายกลาง"
"ความไม่เป็นกิเลส เกิดจากการไม่ปฏิบัติหรือตัดอธรรม วิชาที่ผิดที่ไม่ดี กิเลส"

ความถูกความดี

ธรรมะ
ธรรมะ คือ ความถูกความดี, หลักของความถูกความดี

ความถูกความดี
"ความถูกความดี คือ ความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"ความถูกความดีมีคุณ คือ ทำให้ถูกต้อง มีธรรมะ เป็นกลาง เป็นธรรม เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือตนเอง ทำให้ได้ดี มีความสุข ไม่หลงผิด ไม่ได้ไม่ดี ไม่ทุกข์"
"ควรมองให้เห็น รับรู้ สัมผัสได้ถึงความถูกความดี แล้วนำมาเป็นเป้าหมาย เป็นหนทาง เป็นที่พึ่งที่ระลึก หรือนำมาปฏิบัติ"
"ควรเพียร อดทนอดกลั้น เข้มแข็ง มีเมตตา ช่วยเหลือกัน สร้างสรรค์ หา สร้าง พัฒนา บำรุง รักษา ปรับปรุง แก้ไขด้วยความถูกความดี"
"การอธิษฐาน การคิด พูด สื่อ ทำด้วยความถูกความดี จะทำให้มีแรงใจ มีพลังใจในทางที่ถูกที่ดี"
"ตั้งหลักด้วยความถูกความดี"
"นอบน้อม อ่อนน้อมต่อความถูกความดี"
"กระทำธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความถูกความดี วิชา อย่างไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง"
"การก้าวไปข้างหน้าด้วยความถูกความดีหรือแนวบวก จะต้องก้าวควบคู่ไปกับความไม่ถูกไม่ผิดความไม่ดีไม่ชั่วที่เป็นแนวกลาง และแนวลบ อย่างเป็นวิชา ไม่เป็นอธรรม ไม่เป็นกิเลส"
"อยู่ด้วยความถูกความดี"

แนวลบที่ไม่เป็นอธรรม ใช้สำหรับการวางเฉย ปล่อยวาง หรือออกจาก ใช้ในการระบายสิ่งที่สิ้นสุดการใช้ ใช้การไม่ได้แล้ว ระบายสิ่งที่ผิดพลาด เสียหาย หรือล้มเหลว ทิ้งไป

การกระทำความถูกความดี
"กระทำความถูกความดี ด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม ความซื่อสัตย์ ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม การรู้คุณแทนคุณ ความตรง ความจริง ความจริงใจ วิชา การรู้จักวางเฉย ความไม่เบียดเบียน ความไม่เห็นแก่ตัว ความไม่ลำเอียง ความไม่อิจฉาริษยา ความไม่โลภ ความไม่โกรธ ความไม่หลง ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

ย่อ
"กระทำความถูกความดี ด้วยจิตสำนึกที่ถูกที่ดี วิชา ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ลำเอียง เป็นกลาง เป็นธรรม ทางสายกลาง"

ความถูก ความเป็นแนวกลาง ความผิด
"ความถูก คือ ถูกหลักธรรม ถูกหลักธรรมฝ่ายดีงาม ถูกหลักวิชา ถูกกฎของธรรมชาติ ไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง"
"ความเป็นแนวกลาง คือ ดีก็ไม่ใช่ไม่ดีก็ไม่ใช่ หรือความเป็นแนวกลางอื่นๆ ไม่เป็นอธรรม ไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง"
"ความผิด คือ ผิดหลักธรรม ผิดหลักธรรมฝ่ายดีงาม หรือผิดหลักวิชา"

"ให้ความถูกเป็นแกนหลัก"
"ควรปฏิบัติความถูก ความเป็นแนวกลาง ไม่ปฏิบัติความผิด"
"ความเป็นแนวกลาง ใช้สำหรับการวางใจเป็นกลาง ออกจาก เก็บบันทึก หรือวางเฉย"

การคิด พูด ทำอย่างพอเหมาะ

"คิด พูด ทำเพื่อความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ตนเอง หรือผู้อื่น อย่างพอเหมาะ"
"คิด พูด ทำสิ่งที่ถูกที่ดีในหลายๆ ด้าน ด้วยความพอเหมาะ"

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2565

ให้คุณค่า ความสำคัญ

"ให้คุณค่า ความสำคัญต่อตนเอง ผู้อื่น ด้วยความเป็นกลาง ความเป็นธรรม ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

การพัฒนา

"พัฒนา พัฒนาตนเองด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม ความไม่เบียดเบียน วิชา ความพอเหมาะ การรู้จักบันทึก รู้จักเก็บบันทึก การรู้จักวางเฉย การรู้จักออกจาก ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

มีค่า

"การมองคน มองที่ธรรม"
"การอยู่ ควรอยู่อย่างมีค่า คืออยู่ด้วยธรรม"
"ความมีค่าของคน มาจากธรรม"
"พัฒนาตนเองให้มีค่าด้วยธรรม"
"มีค่า ทำให้มีค่าด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"ทำขันธ์ให้มีค่าด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

การกระทำ การปรับตัว

การกระทำ
"กระทำความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา การรู้จักวางเฉย ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

การปรับตัว
"ปรับตัวด้วยการกระทำความถูกความดี วิชา อย่างไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง"
ย่อ
"ปรับตัวด้วยการกระทำความถูกความดี อย่างไม่เป็นกิเลส"

สิ่งที่ควรมี

สิ่งที่ควรมี คือ
๑. ความถูก
๒. จิตสำนึกที่ถูกที่ดี
๓. ความเห็นที่ถูกที่ดี
๔. ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส
๕. แรงผลักดัน แรงบันดาลใจ อย่างเป็นธรรมะ เป็นความถูกต้องความดี ไม่เป็นกิเลสฝ่ายอธรรม
๖. ศักดิ์ศรี อย่างถูกต้อง ไม่เป็นอธรรม ไม่เป็นกิเลส
๗. สิริ

เป้าหมาย

"ให้ความถูกต้อง ธรรมะ ความดีงาม วิชา ความไม่มีกิเลส ทางสายกลาง เป็นเป้าหมายของเรา"
"มีเป้าหมายเป็นการกระทำความถูกให้สำเร็จ"
"มีเป้าหมาย เพื่อความถูกต้องความดี ไม่จำเป็นจะต้องหวังผลตอบแทนให้ตนเอง"
"มีเป้าหมายเป็นทำให้ดีขึ้นอย่างมีขอบเขตจำกัด มีขีดจำกัด"
"ไม่ปฏิบัติอธรรม ไม่ปฏิบัติผิด ไม่ปฏิบัติไม่ดี ปฏิบัติธรรมะ ปฏิบัติถูก ปฏิบัติดี เพื่อความถูก"

ความพอเหมาะตามกาล

"รู้จักการกะ ประมาณว่าสิ่งไหนมากเกิน สิ่งไหนน้อยเกิน สิ่งไหนพอดี พอเหมาะตามกาล"
"ควรมีความพอเหมาะตามกาล มีความไม่มากเกิน ไม่น้อยเกินตามกาล อย่างเป็นวิชา ไม่เป็นกิเลส"
"รู้จักการเก็บ สะสม อย่างถูกต้องตามหลักธรรม หลักวิชา พอเหมาะ ไม่เป็นกิเลส เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้ในยามจำเป็น"

ไม่ผูกใจติดกัน

"การมีอคติ คิดร้าย การเบียดเบียน การคิด พูด กระทำต่อกันอย่างเป็นกิเลส จะทำให้ผูกใจติดกัน ไม่ควรผูกใจติดกัน"
"สามารถให้ ช่วยเหลือ น้อมนำ นำพากัน จริงใจต่อกัน โดยที่ไม่ผูกใจติดกันได้"

แก้ปัญหาความไม่สบายใจ

แก้ปัญหาความไม่สบายใจ
"แก้ปัญหาความไม่สบายใจ โดยการปฏิบัติความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม วิชา ความพอเหมาะ การรู้จักวางเฉย การรู้จักออกจาก ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"แก้ปัญหาความไม่สบายใจ โดยการทำใจไม่ให้ไปทุกข์กับสิ่งที่เข้ามากระทบหรือเกิดขึ้น ไม่ยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งที่เข้ามากระทบหรือเกิดขึ้น ทั้งดีหรือไม่ดี สมหวังหรือผิดหวัง"

การแก้ปัญหา
"แก้ปัญหาด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา การรู้จักวางเฉย การรู้จักออกจาก ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"แก้ปัญหาจากเหตุ"
"ปัญหาเกิดจากกิเลสหรือการปฏิบัติอธรรม"
"แก้ปัญหาโดยการไม่ให้เสียสมบัตินามขันธ์อย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส"

การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน
"การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ทำได้โดยการแก้ปัญหาอย่างเป็นเปลาะๆ ให้ความซับซ้อนลดลงเรื่อยๆ ตามลำดับ จนเหลือเป็นปัญหาเชิงเดี่ยว แล้วแก้ปัญหาเชิงเดี่ยวเหล่านั้น ก็จะแก้ปัญหาได้"
"การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ทำได้โดยการใช้ความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา การรู้จักวางเฉย ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

การพึ่งพา พึ่งพิง การนำทาง

การพึ่งพา พึ่งพิง
"พึ่งพา พึ่งพิงความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"พึ่งพา พึ่งพิงธรรมชาติฝ่ายที่ถูกที่ดี"

การนำทาง
"ให้ความถูกนำทางให้เรา ไปตามทางความถูก"

ถูก หมายถึง ถูกหลักธรรม ถูกหลักวิชา

การรู้คุณ แทนคุณ

"รู้คุณ แทนคุณด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม วิชา การรู้จักวางเฉย ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"การรู้คุณ แทนคุณ เป็นสิ่งที่มีค่ามาก"
"การรู้คุณ แทนคุณ ควรทำด้วยจิตสำนึก จริงใจ ไม่หวังผลตอบแทน"
"ควรรู้คุณ ไม่ควรมองข้ามคุณของธรรมชาติ ผู้อื่น หรือสิ่งอื่น ตามจริง แล้วแทนคุณอย่างถูกต้องด้วยทางสายกลาง"
"การแทนคุณ จะกระทำได้ทั้งทางธรรม ทางรูป ทางนาม"
"การแทนคุณ ควรกระทำอย่างไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่น"

การหวัง

"หวัง ในความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา การรู้จักวางเฉย ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"หวัง ด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา การรู้จักวางเฉย ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"หวังอะไรก็ได้ ที่ไม่ใช่อธรรม ไม่ใช่กิเลส"
"เมื่อหวังในทางที่ถูกที่ดีแล้ว ลงมือปฏิบัติให้สำเร็จ ด้วยความถูก จิตสำนึก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม วิชา การรู้จักวางเฉย ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

ย่อ
"หวังที่จะถูกจะดี ทำให้ถูกทำให้ดี"

หลักในการอยู่ร่วมกัน

หลักในการอยู่ร่วมกัน
"หลักในการอยู่ร่วมกัน คือ ปรารถนาดี มีวิชา ขยันหมั่นเพียร ให้ รับ แบ่งปัน ซื่อสัตย์ ตรง สามัคคี ปรองดอง เป็นกลาง เป็นธรรม รู้คุณแทนคุณ ถือความจริง จริงใจ ไม่เบียดเบียน"

ย่อ
"หลักในการอยู่ร่วมกัน คือ เป็นกลาง เป็นธรรม รู้คุณแทนคุณ"

การให้ ช่วยเหลือ รู้ตน รู้ประมาณตน

การให้ ช่วยเหลือตนเอง
"ควรเลือกให้ในเฉพาะส่วนที่ถูกที่ดีของตนเอง"
"ควรเลือกช่วยเหลือในเฉพาะส่วนที่ถูกที่ดีของตนเอง"
"ส่วนที่ไม่ถูกที่ไม่ดีของตนเอง ตนเองที่จะสามารถแก้ไข ปรับปรุงได้"

การให้ ช่วยเหลือเขา
"ควรเลือกให้ในเฉพาะส่วนที่ถูกที่ดีของเขา"
"ควรเลือกช่วยเหลือในเฉพาะส่วนที่ถูกที่ดีของเขา"
"ส่วนที่ไม่ถูกที่ไม่ดีของเขา ตัวเขาเองที่จะสามารถแก้ไข ปรับปรุงได้"

รู้ตน รู้ประมาณตน
"รู้ตน รู้ประมาณตน เพื่อให้รู้ว่าเราสามารถกระทำในทางที่ถูกที่ดีอะไรได้ ได้เท่าไร ด้วยทางสายกลาง"
"รู้ตน รู้ประมาณตน เพื่อให้เรากระทำในทางที่ถูกที่ดีได้อย่างเหมาะสม พอเหมาะ เป็นทางสายกลาง"

การมีเหตุผล

"การมีเหตุผล ทำให้เรามีความรอบรู้ มีความรอบคอบ มีความเข้าใจ มีคุณธรรม มีความเป็นกลาง เป็นธรรม ตัดสินใจ กระทำได้อย่างถูกต้อง"
"มีเหตุผล ด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม ความตรง ความจริง วิชา การรู้จักวางเฉย ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

การได้ รับ

"การได้หรือรับ ควรมีเหตุที่ถูกที่ดี คือ มีการหา เรียง ทำ สร้างรูป นามอย่างถูกต้องด้วยธรรมะ ความเพียร วิชา มีการให้ธรรมชาติอย่างถูกต้อง หรือมีการให้ธรรม รูป นามแก่ตนเองหรือผู้อื่นอย่างถูกต้องด้วยธรรมะ ความจริงใจ ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม วิชา"

การกระทำอย่างไม่เป็นกิเลส

การกระทำอย่างไม่เป็นกิเลส
การกระทำอย่างไม่เป็นกิเลส คือ การกระทำอย่างไม่เป็นความโลภ ไม่เป็นความโกรธ ไม่เป็นความหลง การกระทำที่ไม่เป็นไปในทางโลภ โกรธ หลง

"ควรกระทำเป็นประโยชน์ มีค่าต่อตนเองหรือผู้อื่น อย่างถูกต้อง เป็นกลาง เป็นธรรม เป็นวิชา รู้จักการวางเฉย ไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง"

การให้ การรับ

"ในการอยู่ร่วมกันควรมีการให้ การรับธรรมะ สมบัติรูป สมบัตินาม สวัสดิภาพ ด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม การรู้คุณแทนคุณ ความจริงใจ วิชา การรู้จักวางเฉย ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"การให้ การรับ มีทั้งทางรูป ทางนาม"
"ควรเป็นผู้ให้ เท่ากันกับ เป็นผู้รับ อย่างไม่เป็นอธรรม เป็นธรรมะ เป็นธรรมฝ่ายดี เป็นวิชา ไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง"
"การให้หรือแทนคุณ ควรให้หรือแทนคุณด้วยสิ่งที่มีค่า เป็นประโยชน์ต่อเขา และไม่เป็นโมฆะ"
"การรับหรือใช้ ควรรับหรือใช้ในสิ่งที่มีค่า มีประโยชน์ต่อขันธ์ ไม่เป็นโมฆะ"
"เราสามารถรับก่อนให้หรือให้ก่อนรับอย่างถูกหลักธรรม ถูกหลักวิชาได้"

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2565

หลักการกระทำที่ควร

หลักการกระทำที่ควร ทำได้โดย
- เชื่อในความถูก เชื่อด้วยความถูก
- คิด พูด สื่อ กระทำในทางที่ถูกที่ดีอย่างไม่เป็นกิเลส คือ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง หรือไม่เป็นไปในทางโลภ โกรธ หลง ด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม วิชา ทางสายกลาง
- ทำเพื่อความถูก

การรู้จักปรับตัว รู้ตน มีความรับผิดชอบ

การรู้จักปรับตัว
"รู้จักปรับตัว ด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม จิตสำนึกที่ถูกที่ดี ความมีเหตุผล รู้ตน รู้ผู้อื่น รู้ประมาณ รู้กาล รู้จักแก้ไข รู้จักปรับปรุง รู้ปัญหา รู้จักแก้ปัญหา ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม ความตรง ความจริง ความเหมาะสม ความพอเหมาะ วิชา ความรู้ การรู้จักวางเฉย การรู้จักออกจาก ความไม่เบียดเบียน ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

รู้ตน
"รู้ตน คือรู้ว่าตนเองทำอะไรลงไป ทำอย่างไร มีเจตนาอย่างไร มีเหตุจากอะไร ตามจริง ถ้าผิด ก็แก้ไข ปรับปรุงตนให้ถูกต้อง ด้วยความถูก จิตสำนึก ธรรมะ วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

มีความรับผิดชอบ
"มีความรับผิดชอบในความผิดพลาดของตนเอง ด้วยความถูก จิตสำนึก ธรรมะ วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

ยอมรับความจริง

"ควรยอมรับความจริงว่า เราทำผิดอะไร ผิดพลาดอะไร เป็นผู้รับอะไร เป็นหนี้อะไรตามจริง แล้วแก้ไข ใช้หนี้ อย่างถูกต้อง ด้วยธรรมะ วิชา"
"หนี้มีต่อทั้งธรรมชาติ ต่อผู้อื่น หรือต่อสิ่งอื่น การใช้หนี้จะกระทำได้ทั้งทางธรรมะ ทางวิชา ทางรูป ทางนาม"
"เราไม่ควรมองเข้าข้างตนเองว่าตนเองทำถูกเสมอ ไม่ผิดพลาดเลย เป็นผู้ให้เสมอ ไม่เป็นผู้รับ หรือมองข้ามการรับของตนเอง"

สิ่งที่ไม่ถูกไม่ดี

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ อย่างเป็นทางสายกลาง และไม่ควรเป็นเจ้าของ

สิ่งที่ไม่ถูกไม่ดี ๔ ข้อ คือ
- อธรรม ความไม่ถูก ความไม่ดี ความไม่ใช่ทางสายกลาง
- ธรรมฝ่ายชั่วร้าย ความชั่วร้าย
- ความไม่มีวิชา วิชาที่ไม่ถูกไม่ดี
- กิเลส มีความสุข แก้ปัญหาด้วยความผิด

สิ่งที่ไม่ถูกไม่ดี ๒๕ ข้อ คือ
- ความไม่ถูก ความไม่ดี ขาดศีล ขาดสติ ขาดสัมปชัญญะ ขาดสมาธิ ขาดวิชา ความไม่ใช่ทางสายกลาง ความหย่อนเกินหรือตึงเกิน
- ความไม่มีวิชา ทักษะที่ไม่ถูกไม่ดี วิชาที่ไม่ถูกไม่ดี
- จิตสำนึกที่ไม่ถูกที่ไม่ดี ความเห็นที่ไม่ถูกที่ไม่ดี เจตนาที่ไม่ถูกที่ไม่ดี ความหลงผิด การสะสมอธรรมหรือกิเลส
- คิดไม่ถูกคิดไม่ดี คิดร้าย ตั้งจิตปรารถนาในทางที่ไม่ถูกที่ไม่ดี ความปรารถนาไม่ถูกไม่ดี ความอยากอย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส การปรารถนา หา มี ติด ยึดติด หรือยึดมั่นถือมั่นในชื่อเสียง หน้าตา อย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส
- เจรจาไม่ถูกไม่ดี
- ความประพฤติไม่ถูกไม่ดี การปฏิบัติไม่ถูกไม่ดี การสร้าง มีบารมีที่ไม่ถูกไม่ดี ทุจริต
- ความเบียดเบียน
- ความพยายามที่ไม่ถูกที่ไม่ดี ความไม่เพียรพยายามในทางที่ถูกที่ดี ความมุ่งมั่นที่ไม่ถูกที่ไม่ดี ไม่มุ่งมั่นในความถูกความดี มักง่าย ไม่รับผิดชอบ ขอไปทีอย่างเป็นอธรรม ความประมาท ไม่รอบคอบ
- ความตั้งมั่นที่ไม่ถูกที่ไม่ดี ไม่มีความตั้งมั่นที่ถูกที่ดี ตั้งจิตไว้ที่ไม่ถูกที่ไม่ดี
- การเรียงความสำคัญไม่ถูก ไม่ถูกอันดับ ไม่ถูกลำดับ การเรียงไม่ถูก ไม่ถูกเนื้อนาม ไม่ถูกลำดับ ไม่เป็นระเบียบ การซ้ำแบบผิด ผิดหลักวิชา
- อ่อนแอ ไม่อดทนในความถูกความดีหรือในการกระทำความถูกความดี
- ความไม่เหมาะสม ไม่พอเหมาะ ไม่พอดี ไม่มีจังหวะที่ถูก ไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา ไม่รู้จักพอ ความมากเกิน หรือน้อยเกิน เกินขอบเขตจำกัด เกินขีดจำกัด การไม่รู้จักเก็บอย่างพอเหมาะ การฟุ้งเฟ้อ สิ้นเปลือง ไม่ทันเวลาที่จำกัด มีความไม่สมดุล
- การไม่รู้จักปรับตัวอย่างถูกต้อง
- ความไม่สม่ำเสมอ ไม่เสมอต้นเสมอปลายอย่างถูกต้อง
- การแย่ง แย่งสมบัตินามขันธ์ อย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส การเสียสมบัตินามขันธ์อย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส การเอาของเขา การใช้ในส่วนของเขา แข่ง เปรียบเทียบอย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส ความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ความอิจฉาริษยา การทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อน ทำให้เข้าใจผิด การใส่ร้าย การกดขี่ข่มเหง การรังแก การทำให้คลาดเคลื่อน การทำให้ผิดพลาด การทำให้ผิด การบังคับอย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส การเจาะระบบอย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส การถูกเจาะระบบอย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส การรับสิ่งตอบแทนจากการปฏิบัติอธรรมหรือกิเลส การพนัน อบาย
- การไม่รู้จักออกจาก ความติด
- การไม่รู้จักบันทึก ไม่รู้จักเก็บบันทึก
- การไม่รู้จักวางเฉย ไม่รู้จักปล่อยวาง ละวาง
- ความไม่เป็นกลาง ลำเอียง
- ความไม่เป็นธรรม เอาเปรียบ
- การไม่รู้คุณไม่แทนคุณ
- ความคด มีเล่ห์เหลี่ยม โกง ทรยศ หักหลัง ลักไก่
- ความไม่จริง ไม่จริงใจ
- ความไม่มีอิสระ ไม่เป็นอิสระอย่างถูกต้อง ความอิสระที่ไม่ถูกไม่ดี
- กิเลส ความโลภ ความโลภมี ความโกรธ ความหลง ความมัวเมา มีความสุข แก้ปัญหาด้วยความผิด

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2565

การให้ด้วยความเป็นกลาง

"ให้ตนเองและผู้อื่น อย่างถูกหลักธรรม ถูกหลักธรรมฝ่ายดีงาม ถูกหลักวิชา ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ไม่เป็นกิเลส ด้วยความเป็นกลาง และทางสายกลาง"

ที่ตั้งหลัก แก้ปัญหาได้

"สามารถตั้งหลัก แก้ปัญหาได้ในที่ไม่สุขไม่ทุกข์ หรือในที่ตั้งจิตไว้ที่ไม่สุขไม่ทุกข์"

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2565

การน้อมนำ นำพา

การน้อมนำ นำพา
"น้อมนำ นำพา ด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา การรู้จักวางเฉย ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"ควรน้อมนำ นำพาตนเองไปในทางที่ถูกที่ดี"
"ควรน้อมนำ นำพาผู้อื่นไปในทางที่ถูกที่ดี"
"การน้อมนำ นำพาผู้ใด จะกระทำตามเหตุที่ถูกที่ดีของผู้นั้นๆ"
"น้อมนำ นำพาในความถูกความดี ความไม่เป็นกิเลส ของตนเองหรือผู้นั้นๆ"
"น้อมนำ นำพาอย่างถูกต้องได้ทั้งตนเองหรือผู้อื่น"

อย่างละเอียด
"น้อมนำ นำพาตนเองหรือผู้อื่น ด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม ความตรง ความจริง ความจริงใจ วิชา การรู้จักวางเฉย การรู้จักออกจาก ความอิสระ ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

การไม่น้อมนำ ไม่นำพา
"ไม่น้อมนำ นำพาตนเองไปในทางที่ผิดที่ไม่ดี"
"ไม่น้อมนำ นำพาผู้อื่นไปในทางที่ผิดที่ไม่ดี"

การแปลง ไม่ทำผิดไม่ทำไม่ดี

การแปลง
"ไม่ควรแปลงจากถูกเป็นผิด"

ถูก หมายถึง ถูกหลักธรรม ถูกหลักคุณธรรม

ไม่ทำผิดไม่ทำไม่ดี
"ถ้าเราทำผิดทำไม่ดีในปัจจุบัน ในอนาคตเราก็จะต้องแก้ไข ปรับปรุงตนเองให้ไม่ผิดไม่ไม่ดี และรับผล
หากไม่ต้องการแก้ไขในอนาคต ก็ต้องไม่ทำผิดไม่ทำไม่ดีในตอนปัจจุบันเลย"

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565

การกระทำให้เป็นผล

"การกระทำให้เป็นผล ทำได้โดยการกระทำอย่างถูกหลักธรรม ถูกหลักวิชาให้ตนเอง หรือให้ผู้อื่น ให้ทำได้ขั้นต่ำขึ้นไป ไม่ทำได้น้อยเกิน ไม่ทำมากเกิน ตามหลักวิชา และทางสายกลาง"

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2565

สิ่งไม่ควรปฏิบัติ ควรตัด ควรถอน

การไม่ปฏิบัติ ตัด ถอนสิ่งเหล่านี้ ทำให้ไม่เป็นอธรรม ไม่เป็นกิเลสได้ ทำให้สงบสุข เรียบร้อยได้
สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งไม่ควรปฏิบัติ ควรตัด ควรถอน อย่างเป็นทางสายกลาง
- กาย อย่างเป็นอธรรม หรือเป็นกิเลส
- ความลังเลในธรรมะหรือความถูกความดี ความเห็นผิด
- การกระทำผิดจากเป้าหมายที่แท้จริงที่ถูกที่ดี การมีความสุขในทางที่ผิดที่ไม่ดีหรือเป็นกิเลส

- การใช้พื้นฐาน ทางรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส รับรู้ทางใจ อย่างเป็นอธรรม หรือเป็นกิเลส
- ความไม่พอใจ ขัดใจ ความขัดเคืองใจ ความขุ่นข้องหมองใจ ความกระทบกระทั่งในใจ อย่างเป็นอธรรม หรือเป็นกิเลส

- การใช้รูปหรือรูปธรรม อย่างเป็นอธรรม หรือเป็นกิเลส รูปในที่นี้หมายถึงรูปที่ไม่เป็นไปในทางพื้นฐานเลย
- การใช้อรูปหรือนามธรรม อย่างเป็นอธรรม หรือเป็นกิเลส
- ตัวตนอย่างเป็นอธรรม หรือเป็นกิเลส ความรู้สึกที่เป็นไปในตนเอง คุณสมบัติของตน แข่ง เปรียบเทียบ อย่างเป็นอธรรม เป็นวิชาที่ผิดที่ไม่ดี หรือเป็นกิเลส
- ขาดสติ ขาดสัมปชัญญะ ขาดสมาธิ ความกระเพื่อมฟุ้งของจิต อย่างเป็นอธรรม หรือเป็นกิเลส
- การใช้ธรรม อย่างเป็นอธรรม หรือเป็นกิเลส
- ขาดความถูกต้อง ขาดธรรมะ ขาดธรรมฝ่ายดีงาม ขาดวิชา ขาดทางสายกลาง
- ความพอใจ ถูกใจ ความติดใจ อย่างเป็นอธรรม หรือเป็นกิเลส
- การไม่รู้จักวางเฉย ไม่รู้จักวางใจเป็นกลาง ไม่รู้จักปล่อยวาง ไม่รู้จักออกจาก ความติด ความยึดติด ความยึดมั่นถือมั่น
- ความมัวเมา
- ไม่เป็นความจริง ไม่อยู่กับความจริง
- ความประมาท ไม่รอบคอบ
- ขี้เกียจ เกียจคร้าน ไม่มีความเพียรพยายามในทางที่ถูกที่ดี
- ไม่มีความอด อดทน อดกลั้น ฝืนเพื่อความถูกความดี
- การคิด พูด สื่อ กระทำอย่างไม่ถูกหรือไม่ดี
- ความไม่เหมาะสม ความไม่พอเหมาะ ไม่มีจังหวะที่ถูก ความไม่รู้จักพอ ความมากเกิน หรือน้อยเกิน เกินขอบเขตจำกัด เกินขีดจำกัด การฟุ้งเฟ้อ สิ้นเปลือง มีความไม่สมดุล
- ความอยาก อยากได้ อยากมี หรืออยากใช้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ความอยาก อยากได้ อยากมี อยากใช้ อยากทำ อยากเป็น อย่างเป็นอธรรม หรือเป็นกิเลส
- ความไม่อยาก ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากใช้ ไม่อยากทำ ไม่อยากเป็น อย่างเป็นอธรรม หรือเป็นกิเลส
- ความไม่เป็นทางสายกลาง ความหย่อนเกินหรือตึงเกิน
- การปรารถนา หา มี ติด ยึดติด หรือยึดมั่นถือมั่นในชื่อเสียง หน้าตา อย่างเป็นอธรรม หรือเป็นกิเลส
- การเรียงความสำคัญผิด ผิดอันดับ ผิดลำดับ การเรียงผิด ผิดเนื้อนาม ผิดลำดับจากหลักวิชาหรือกฎของธรรมชาติ การซ้ำแบบผิด ผิดหลักวิชา
- การเอาของผู้อื่น การใช้ในส่วนของผู้อื่น
- อธรรม อธรรมหยาบ อธรรมปานกลาง อธรรมละเอียด อธรรมความโลภมี สะสมอธรรมหรือกิเลส บารมีที่ผิดที่ไม่ดี ทุจริต การแย่ง แย่งสมบัตินามขันธ์ อย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส การเสียสมบัตินามขันธ์อย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส ความเบียดเบียน ความเห็นแก่ตัว คิดร้าย ความคด มีเล่ห์เหลี่ยม ความโกง ทรยศ หักหลัง ไม่เป็นกลาง ลำเอียง ไม่เป็นธรรม เอาเปรียบ ลักไก่ มักง่าย ไม่รับผิดชอบ ขอไปทีอย่างเป็นอธรรม ความตระหนี่ ความอิจฉาริษยา การทำให้คลาดเคลื่อน การทำให้ผิดพลาด การทำให้ผิด การบังคับอย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส การเจาะระบบอย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส การถูกเจาะระบบอย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส การรับสิ่งตอบแทนจากการปฏิบัติอธรรมหรือกิเลส การพนัน อบาย
- อธรรมของตนในที่ตนเอง ที่ขันธ์อื่น หรือที่สิ่งอื่น อธรรมในอดีต ในปัจจุบัน หรือในอนาคต
- แนวลบที่เป็นอธรรม
- การใช้สมบัติรูป สมบัตินาม อย่างเป็นอธรรม เป็นวิชาที่ผิดที่ไม่ดี หรือเป็นกิเลส
- การใช้ขันธ์ อย่างเป็นอธรรม หรือเป็นกิเลส คือ ใช้รูปขันธ์ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างเป็นอธรรม หรือเป็นกิเลส
- ความไม่มีวิชา มีหรือใช้ทักษะ วิชา อย่างเป็นกิเลส ทักษะที่ผิดที่ไม่ดี วิชาที่ผิดที่ไม่ดี
- กิเลสของตนในที่ตนเอง ที่ขันธ์อื่น หรือที่สิ่งอื่น กิเลสในอดีต ในปัจจุบัน หรือในอนาคต
- เกี่ยวกับธรรมชาติ อย่างเป็นอธรรม เป็นกิเลส หรือผิดกฎของธรรมชาติ
- ความอาลัย เศร้าหมอง ความเสียดายอย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส ความหดหู่ ความพลาดหวัง ผิดพลาด ล้มเหลวอย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส
- ความไม่เป็นอิสระในทางที่ถูกที่ดี หรือการมีอิสระอย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส
- ความสำเร็จ ความสมหวัง อย่างเป็นอธรรม หรือเป็นกิเลส
- กิเลส กิเลสหยาบ กิเลสปานกลาง กิเลสละเอียด ความโลภ ความโลภมี ความโกรธ ความหลง ความหลงผิด ความผิด แก้ปัญหาด้วยความผิด

การอยู่กับธรรมชาติ

"อยู่กับธรรมชาติ"
"พึ่งพาธรรมชาติฝ่ายที่ถูกที่ดี"
"ทำให้ธรรมชาติฝ่ายที่ถูกที่ดีให้ไป"
"ทำให้ธรรมชาติฝ่ายที่ถูกที่ดีให้ไป โดยการทำถูกกฎของธรรมชาติทั้งหมด การยอมรับและอยู่กับธรรมชาติ การปฏิบัติธรรมฝ่ายดีงามอย่างไม่เป็นกิเลส การทำถูกทำดี"

ธรรมชาติฝ่ายที่ถูกที่ดี คือ ธรรมชาติฝ่ายที่ถูกต้องและดี
ทำถูกกฎของธรรมชาติ คือ ไม่ฝืนกฎของธรรมชาติ

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2565

เกี่ยวกับการบังคับ ควบคุม

เกี่ยวกับการบังคับ ควบคุม
"ไม่ควรบังคับผู้อื่นเลย สามารถชี้นำ น้อมนำ นำพา ประคับประคองเขาไปในทางที่ถูกที่ดีได้ ให้เขามีตัวเลือกที่ดีเพิ่มขึ้นมา แล้วเลือกที่จะปฏิบัติด้วยตนเองได้ หรือวางเฉยต่อเขา"
"ควรบังคับ ควบคุมตนเองให้ถูกหลักธรรม ถูกหลักวิชา ถูกกฎของธรรมชาติ ไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง"

การตั้งจิตอยู่ การปฏิบัติ และการบังคับ ควบคุม
"ตั้งจิตอยู่ที่การไม่ถูกบังคับแม้แต่น้อยนิด ตั้งจิตอยู่ที่การไม่ถูกบังคับอย่างเด็ดขาด แต่ปฏิบัติ บังคับหรือควบคุมตนเองให้ถูกหลักธรรม ถูกหลักวิชา ถูกกฎของธรรมชาติ ไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง ด้วยจิตสำนึก"

การทำให้ไม่ถูกผู้อื่นบังคับ
"หากทุกคนปฏิบัติความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส อย่างเป็นทางสายกลาง จะทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องบังคับผู้อื่นหรือถูกผู้อื่นบังคับ แต่ยังคงบังคับ ควบคุมตนเองเพื่อให้ทำสำเร็จหรือถูกต้องอยู่"

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565

เดินทางไปยังเป้าหมาย

"ก่อนอื่น ควรมองให้เห็นเป้าหมายที่ถูกต้องให้ได้ก่อน"
"การเดินไปตามทางอธรรม ไม่สามารถไปถึงเป้าหมายที่ถูกต้องได้"
"การเดินไปตามทางความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง ทำให้สามารถไปถึงเป้าหมายที่ถูกต้องได้"
"มีเป้าหมายเป็นธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม และเป็นไทจากอธรรม กิเลส"

บทความที่ได้รับความนิยม