วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566

วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ใช้ทักษะวิชาที่ถูกที่ดี

"ทักษะวิชาที่ถูกที่ดี คือธรรมฝ่ายดีงาม"
"การใช้ทักษะวิชาที่ถูกที่ดีจะทำให้ตนเองหรือผู้อื่นถูกต้องมากขึ้น ดี รู้จักช่วยเหลือตนเอง รู้จักช่วยเหลือกัน รู้รักษาตน รู้รักษาผู้อื่น เจริญ มีใช้ สร้างความสุข ทำให้มีความสุข ไม่ทุกข์ ไม่เบียดเบียนกัน ไม่ทำร้ายกัน ไม่เอาเปรียบกัน ไม่แย่งกัน เป็นธรรม แก้ปัญหาได้ เพิ่มเติมพลัง ทำให้สำเร็จ สมหวังได้ อย่างเป็นกลาง ไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง"

วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2566

หลักธรรมะ

ธรรมะ ๔
- ความถูก ธรรมะ ความว่าง ทางสายกลาง
- ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม
- วิชา
- ความไม่เป็นกิเลส

อธรรม ๔
- ความผิด อธรรม ความไม่ใช่ทางสายกลาง ความหย่อนเกินหรือตึงเกิน
- ธรรมฝ่ายชั่วร้าย ความชั่วร้าย
- ความไม่มีวิชา วิชาที่ผิดที่ไม่ดี
- กิเลส

ไม่ปฏิบัติอธรรม ๔ ปฏิบัติธรรมะ ๔
มีสติในการไม่ปฏิบัติอธรรม ๔ ปฏิบัติธรรมะ ๔
ใช้ทักษะในการปฏิบัติธรรมะ ๔
ธรรมะ ๔ เป็นธรรมที่ทำให้ถูก ดี ได้ดี ไม่ได้ไม่ดี มีความสุขอย่างถูกต้อง ไม่ทุกข์ได้
ธรรมะ ๔ เป็นธรรมที่ทำให้เป็นอิสระได้
ธรรมะ ๔ เป็นทางเจริญ รุ่งเรือง
ธรรมะ ๔ เป็นธรรมที่ทำให้ชนะ
ธรรมะ ๔ เป็นธรรมที่ทำให้สงบสุข เรียบร้อยได้
ธรรมะ ๔ เป็นสิ่งที่คุ้มครองผู้ปฏิบัติได้
ควรเก็บธรรมะ ๔ เอาไว้ในใจ เพื่อนำไปปฏิบัติ จะทำให้ดีขึ้นได้
ไม่เป็นแนวติดลบ เป็นแนวศูนย์ หรือเป็นแนวติดบวก ได้โดยธรรมะ ๔

ธรรมะหลัก ธรรมฝ่ายดีงาม เป็นบารมีที่ถูกที่ดี
ธรรมะ ๔ ธรรมฝ่ายดีงาม เป็นธรรมที่ทำให้มีแรง มีพลัง มีกำลังเพียงพอ

วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ธรรมที่ทำให้เจริญ รุ่งเรือง

ธรรมที่ทำให้เจริญ รุ่งเรือง มีคุณ มีค่ามาก คือ
- ความถูก ธรรมะ ทางสายกลาง
- ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม
- วิชา
- ความไม่เป็นกิเลส

วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566

แก้กรรม แก้หนี้

ในการแก้กรรม แก้หนี้ ด้วยธรรมะ จะต้องชนะอธรรม ไม่มีเจตนากลับไปทำผิดทำไม่ดีนั้นๆ อีกในตอนยังไม่หมดกรรม ไม่หมดหนี้นั้นๆ แล้วชดใช้กรรม ชดใช้หนี้ด้วยการปฏิบัติธรรม ๔ ข้อ ให้เพียงพอ คือ
- ความถูก ธรรมะ ทางสายกลาง
- ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม
- วิชา
- ความไม่เป็นกิเลส

ไม่ควรเอามากๆ แบบผิด

"ไม่ควรเอามากๆ อย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส ควรเอาอย่างพอเหมาะ พอดี รู้จักพอ ทั้งรูปหรือนาม"
"ใช้สิ่งที่มีอยู่ให้มีคุณค่า มีคุณภาพ เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างประหยัด มัธยัสถ์ ไม่เป็นกิเลส ทั้งรูปหรือนาม"

วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ระบบปฏิบัติการ

"ให้ธรรมะเป็นระบบปฏิบัติการ"
"ให้ธรรมะ ๔ เป็นระบบปฏิบัติการ"

ธรรมะ ๔ คือ
- ความถูก ธรรมะ ทางสายกลาง
- ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม
- วิชา
- ความไม่เป็นกิเลส

วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ธรรมะส่วนบุคคล

ธรรมะส่วนบุคคล หรือธรรมะเฉพาะตน หมายถึงธรรมะที่ปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อตนเอง มีผลเฉพาะตนเอง
ธรรมะส่วนบุคคล คือ
- ความถูก ธรรมะ ความว่าง ทางสายกลาง
- วิชา
- ความไม่เป็นอธรรม ความไม่เป็นกิเลส มีความสุข แก้ปัญหา อย่างถูกต้อง

ธรรมะส่วนบุคคล ๒๓ ข้อ
- ความถูก สติ สัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญา ความว่าง ทางสายกลาง
- ทักษะที่ถูกที่ดี วิชาที่ถูกที่ดี ไม่เป็นอธรรม ไม่เป็นกิเลส
- จิตสำนึกที่ถูกที่ดี ความเห็นที่ถูกที่ดี เจตนาที่ถูกที่ดี เก็บ สะสมธรรมะ ความถูกความดี ความไม่เป็นกิเลส ไม่สะสมอธรรม ความผิดความไม่ดี หรือกิเลส
- ความคิดที่ถูกที่ดี ตั้งจิตปรารถนาที่ถูกที่ดี ความปรารถนาดี การตัดสินใจเองอย่างถูกต้อง
- ความประพฤติที่ถูกที่ดี การปฏิบัติที่ถูกที่ดี สุจริต
- ความไม่เบียดเบียนตนเอง การไม่รับสิ่งตอบแทนจากการปฏิบัติอธรรมหรือกิเลส
- ความเพียร พยายามที่ถูกที่ดี ความมุ่งมั่นที่ถูกที่ดี ความไม่ประมาท รอบคอบ
- ความตั้งจิตมั่นปรารถนาที่ถูกที่ดี ความตั้งมั่นที่ถูกที่ดี ตั้งจิตไว้ที่ถูกที่ดี ไม่ตั้งจิตไว้ที่ผิดที่ไม่ดี
- ความมีวินัย
- การเรียงความสำคัญถูกต้อง ถูกอันดับ ถูกลำดับ การเรียงถูกต้อง ถูกเนื้อนาม ถูกลำดับ เป็นระเบียบ การจัดกลุ่มอย่างถูกต้อง
- ความเข้มแข็ง ความอดทนในความถูก วิชา หรือในการกระทำความถูก วิชา ฝืน อดทนอดกลั้นต่อความยากลำบากในทางที่ถูก วิชา
- ความเหมาะสม พอเหมาะ พอดี มีจังหวะที่ถูกที่ดี รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา รู้จักพอ ความไม่มากเกิน ไม่น้อยเกิน ไม่เกินขอบเขตจำกัด ไม่เกินขีดจำกัด รู้จักประหยัด มัธยัสถ์ ทันเวลาที่จำกัด มีความสมดุลอย่างถูกต้อง
- ตั้งค่า ปรับค่าต่างๆ จัดสัดส่วนต่างๆ แบ่งกลุ่ม อย่างถูกต้อง เหมาะสม การจัดสัดส่วนต่างๆ ของขันธ์ การรู้จักปรับตัว อย่างถูกต้อง
- ความสม่ำเสมอ เสมอต้นเสมอปลาย อย่างถูกต้อง
- การรู้จักช่วยเหลือ พึ่งพาตนเอง อย่างถูกต้อง การรู้จักสละ อย่างถูกต้อง
- การรู้จักหยุด รู้จักยับยั้ง การรู้จักพัก การรู้จักออกจาก
- การรู้จักบันทึก รู้จักเก็บบันทึก
- การรู้จักวางเฉย รู้จักปล่อยวาง ละวาง ไม่ยึดติด ไม่ยึดมั่นถือมั่น
- ความเป็นกลางในสภาวธรรม
- ความตรง
- สัจจะ ความจริง จริงใจต่อตนเอง
- ความอิสระ อย่างถูกต้อง
- ความไม่เป็นอธรรม ความไม่มีอธรรม ความไม่เป็นกิเลส ความไม่มีกิเลส มีความสุข แก้ปัญหา อย่างถูกต้อง

สามารถมีความสุขด้วยตนเอง โดยการปฏิบัติธรรมะส่วนบุคคล
มองเห็นความสุขและมีความสุขในธรรมะส่วนบุคคล

มองเห็นความสุขและมีความสุข

"มองเห็นความสุขและมีความสุขในความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม ความปรารถนาดี การให้กันอย่างถูกต้อง การช่วยเหลือกันอย่างถูกต้อง ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม การรู้คุณแทนคุณ วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2566

สมดุลของการให้ รับ

"สมดุลของการให้ รับ คือการเป็นผู้ให้ เท่ากันกับ การเป็นผู้รับ การให้เท่าไร ก็ได้รับเท่านั้น อย่างไม่เป็นอธรรม ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ เป็นธรรมะ เป็นธรรมฝ่ายดี เป็นกลาง เป็นธรรม เป็นวิชา ไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง"
"สมดุลของการให้ รับ จะทำให้เกิดความถูก ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม การไม่เบียดเบียน การไม่ลำเอียง การไม่เอาเปรียบ การไม่อิจฉาริษยา การไม่มีหนี้ติดค้าง ความไม่หย่อนเกินหรือไม่ตึงเกิน ไม่ทุกข์ มีความสุข ได้"
"ควรทำให้มีสมดุลการให้ รับ"

สิ่งที่ควรเป็น

- เป็น "ผู้ให้" เท่ากันกับเป็น "ผู้รับ" อย่างไม่เป็นอธรรม เป็นธรรมะ เป็นธรรมฝ่ายดี เป็นวิชา ไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง
- เข้าใจ "เขา" ให้เท่ากับเข้าใจ "เรา"
- รู้ทัน "สิ่งภายใน" ให้มากกว่าหรือเท่ากับ "สิ่งภายนอก"
- "มองเห็นและมี" ความสุข อย่างไม่เป็นอธรรม เป็นธรรมะ เป็นธรรมฝ่ายดี เป็นวิชา ไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง
- อยู่กับ "ปัจจุบัน" ให้มากกว่าอยู่กับ "ความทรงจำ" อย่างเป็นกิเลส

การเกิดสติ ปัญญา

"สติ ปัญญา เกิดจากความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม สมาธิ วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2566

สามัคคี

"สามัคคี ช่วยเหลือกัน ด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม ความปรารถนาดี ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม การรู้คุณแทนคุณ จริงใจ การรู้จักวางเฉย การรู้จักออกจาก วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

"ในการทำงานที่ถูกที่ดี หากเราทำเพียงคนเดียวด้วยวิชาและทางสายกลาง อาจจะต้องใช้ระยะเวลามาก กว่าจะทำงานสำเร็จ
แต่ถ้าหากมีผู้อื่นช่วยทำงานอย่างสามัคคีกันด้วยวิชาและทางสายกลาง จะทำให้ใช้เวลาลดน้อยลงมามาก ในการทำงานให้สำเร็จ"
"ในการทำงานที่ถูกที่ดีให้สำเร็จ เราอาจจะต้องปรับเปลี่ยนการทำ คืออาจจะทำงานคนเดียวไปก่อน แล้วมีผู้ช่วย มีการเปลี่ยนผู้ช่วย มีการเพิ่มผู้ช่วย มีการลดผู้ช่วย หรือกลับไปทำงานคนเดียวอีกสลับไปมา เราสามารถปรับตัวในการทำงานด้วยวิชาและทางสายกลาง"

การกระทำ อยู่กับความถูกความดี และการบังคับ

"กระทำ อยู่กับความถูกความดี โดยไม่ต้องให้ผู้อื่นบังคับ"

วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2566

วิชา วิชาที่ผิดที่ไม่ดี

วิชา
"ควรเลือกวิชา ไม่เลือกวิชาที่ผิดที่ไม่ดี"
"ควรใช้วิชา ไม่ใช้วิชาที่ผิดที่ไม่ดี"

วิชาที่ผิดที่ไม่ดี
"ไม่รับหรือน้อมนำวิชาที่ผิดที่ไม่ดีมาใช้ มาเก็บเพื่อใช้ภายหลัง สามารถรู้ เก็บบันทึกวิชาที่ผิดที่ไม่ดีเอาไว้เพื่อรับมือได้"
"ควรทิ้งวิชาที่ผิดที่ไม่ดีที่มีอยู่ไป แล้วไปถือความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดี วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลางแทน"
"เอาชนะวิชาที่ผิดที่ไม่ดี ด้วยธรรมะ ธรรมฝ่ายดี ความถูกความดี วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"วิชาที่ผิดที่ไม่ดีเป็นที่มาของอธรรม กิเลส"
"วิชาที่ผิดที่ไม่ดีเป็นสิ่งที่ทำให้อธรรม กิเลสยังอยู่ต่อ"
"วิชาที่ผิดที่ไม่ดีเป็นสิ่งที่ทำให้อธรรม กิเลสชนะ"

วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566

สำคัญกว่า

"ธรรมะ ธรรมฝ่ายดี ความถูกความดี วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง มีความสำคัญกว่ากิเลสของเรา"
"ความปรารถนาดี ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม การรู้คุณแทนคุณ มีความสำคัญกว่ากิเลสของเรา"
"ตนเอง มีความสำคัญกว่ากิเลสของเรา"
"ผู้อื่น มีความสำคัญกว่ากิเลสของเรา"
"ตนเอง มีความสำคัญกว่าอธรรมของเรา"
"ผู้อื่น มีความสำคัญกว่าอธรรมของเรา"

วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ความผิดพลาด

"ความผิดพลาด เกิดจากอธรรม การขาดสติ ขาดสมาธิ ความไม่มีวิชา วิชาที่ผิดที่ไม่ดี กิเลส หรือความหย่อนเกินความตึงเกิน"
"ความไม่ผิดพลาด เกิดจากธรรมะ ธรรมฝ่ายดี ความถูกความดี การมีสติ มีสมาธิ วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ความสุข ๓ ระดับ

"ความสุขที่ถูกต้องแบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ
ความสุขน้อย ความสุขปานกลาง หรือความสุขมาก ซึ่งได้มาจากธรรมะ ธรรมฝ่ายดี ความถูกความดี วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

ผลของการยอม ไม่ยอมอธรรม กิเลส

"ผลของการยอมอธรรม กิเลส คือจะมีความเห็นว่าอธรรม กิเลสเป็นสิ่งที่ดีงาม มีประโยชน์ ทำให้มีความสุข"
"ผลของการไม่ยอมอธรรม กิเลส คือจะมีความเห็นว่าอธรรม กิเลสเป็นสิ่งที่ไม่ดีงาม ไม่มีประโยชน์ ทำให้เป็นทุกข์"
"ควรมีความเห็นว่าธรรมะ ธรรมฝ่ายดี ความถูกความดี วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง เป็นสิ่งที่ดีงาม มีประโยชน์ ทำให้ไม่เป็นทุกข์ ทำให้มีความสุข"

ความสุข

"ไม่ควรมีความสุขจากอธรรม ความผิดความไม่ดี วิชาที่ผิดที่ไม่ดี กิเลส ความหย่อนเกินความตึงเกิน
ควรมีความสุขจากธรรมะ ธรรมฝ่ายดี ความถูกความดี วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"ควรฝึกให้ไม่มีความสุขจากอธรรม ความผิดความไม่ดี วิชาที่ผิดที่ไม่ดี กิเลส ความหย่อนเกินความตึงเกิน
ควรฝึกให้มีความสุขจากธรรมะ ธรรมฝ่ายดี ความถูกความดี วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ทำให้เสร็จสมบูรณ์

"การกระทำให้เสร็จสมบูรณ์ด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง ก่อน ถึงจะนำไปใช้หรือไปเก็บ จะทำให้เราใช้ อยู่อย่างไม่เป็นอธรรม ไม่เป็นกิเลสเลยได้ และอยู่อย่างมีความสุข"
"การกระทำอย่างไม่เสร็จสมบูรณ์ในความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง โดยเจตนา แล้วนำไปใช้เลยหรือไปเก็บ จะทำให้ผู้นั้นใช้ อยู่อย่างเป็นอธรรม เป็นกิเลส และอยู่ด้วยความเป็นทุกข์"
"การกระทำให้เสร็จสมบูรณ์ จะแยกเป็นส่วนๆ ไปได้"
"หากกระทำอย่างไม่เสร็จสมบูรณ์ สามารถนำมาใช้ก่อนหรือเก็บก่อนได้ โดยจะต้องผ่อนกระทำให้เสร็จสมบูรณ์ในภายหลัง"

วันอังคารที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2566

การกระทำเกี่ยวกับอธรรม กิเลส

"การกระทำเกี่ยวกับอธรรม กิเลส เป็น
ควรหยุด ไม่ปฏิบัติ ควรตัดอธรรมความอยากมี อธรรมความโลภมี กิเลสความอยากมี กิเลสความโลภมี"

บทความที่ได้รับความนิยม