วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ถูกหลักธรรม

ถูกหลักธรรม คือ ถูกหลักธรรมะ เป็นกุศลธรรม ถูกคลองธรรม ถูกกฎของธรรมชาติ

"ควรคิด พูด ปฏิบัติอย่างถูกหลักธรรม"

การคิด พูด ปฏิบัติ
"คิด พูด ปฏิบัติด้วยความถูก ธรรมะ ศีล สมาธิ ปัญญา ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

มงคล

"ปฏิบัติด้วยความเป็นมงคล ไม่ปฏิบัติด้วยความไม่เป็นมงคล"
"สร้างเหตุหรือเข้าหาสิ่งที่เป็นมงคล ระวังไม่ให้สิ่งที่ไม่เป็นมงคลเกิดขึ้น"
"แก้ปัญหาด้วยการปฏิบัติอย่างเป็นมงคล ไม่ปฏิบัติอย่างไม่เป็นมงคล"

มงคล คือ เหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ, สิ่งที่นำสิริ และความเจริญมาสู่ และป้องกันไม่ให้สิ่งเลวร้ายมากล้ำกราย

ประโยชน์ของสัจจะ

"สัจจะหรือการถือความจริง มีประโยชน์คือทำให้อยู่กับความเป็นจริง รู้ปัญหาที่แท้จริง แก้ปัญหาจริงๆ ได้"

แก้ไขให้ถูก

"แก้ไขให้ถูกด้วยธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"การแก้ไขให้ถูก เริ่มต้นได้จากที่ตนเอง"

เงื่อนไขในการกระทำ

"การกระทำใดๆ ก็ตาม ไม่ควรสร้างเงื่อนไขหรือมีเงื่อนไขในการกระทำอย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส ด้วยทางสายกลาง"
"การกระทำใดๆ ก็ตาม สามารถสร้างเงื่อนไขหรือมีเงื่อนไขในการกระทำเป็นธรรมะ ความถูกความดี วิชา ความไม่เป็นกิเลส ได้ ด้วยทางสายกลาง"

วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

จบการกระทำ

"สามารถจบการกระทำหรือจบกรรม โดยการทำธรรมะ ทำความถูกความดี ใช้วิชา ไม่ทำอธรรม ไม่ทำความผิดความไม่ดี กระทำอย่างไม่เป็นกิเลส"
"การกระทำอะไรก็ตาม ควรกระทำให้จบ"

คิด

"ไม่คิดร้าย คิดอคติ คิดอกุศล ย้ำคิดอย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส ต่อตนเองหรือผู้อื่น"
"คิดถูก คิดดี คิดอย่างเป็นกลาง เป็นธรรม คิดกุศล คิดอย่างเป็นวิชา คิดวางเฉย ต่อตนเองหรือผู้อื่น"

วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

การรู้ เข้าถึงธรรมะ

"การไม่คิด ไม่พิจารณาเหตุผลด้วยปัญญา ไม่ปฏิบัติธรรมะ จะทำให้ไม่รู้ ไม่เข้าถึงธรรมะ
การคิด พิจารณาเหตุผลด้วยปัญญา และปฏิบัติธรรมะ จะทำให้รู้ เข้าถึงธรรมะ"

วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

เอาชนะอธรรม กิเลส

"เอาชนะอธรรม กิเลสโดยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"เอาชนะอธรรม กิเลสโดยความปรารถนาดี ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม การรู้คุณแทนคุณ การรู้จักวางเฉย การรู้จักออกจาก"
"เอาชนะอธรรม กิเลสโดยการทำถูกทำดี แก้ปัญหา ด้วยธรรมะ วิชา ทางสายกลาง"

"ควรเอาชนะอธรรม กิเลสในตัวเรา แล้วไม่ปฏิบัติอธรรม กิเลส"
"ควรเอาชนะอธรรม กิเลส แล้วไม่ปฏิบัติอธรรม กิเลส"
"ควรเอาชนะอธรรมความโลภมี กิเลสความโลภมี"

มุมมองธรรม ผล

มุมมองธรรม
"ควรมองมุมมองธรรมด้วย"

ผล
"ธรรมะ ความถูกความดี จะเป็นผลเฉพาะตนสำหรับผู้ปฏิบัติ"
"อธรรม ความผิดความไม่ดี จะเป็นผลเฉพาะตนสำหรับผู้ปฏิบัติ"

วันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ประสบความสำเร็จ สมหวัง มีความสุข

ประสบความสำเร็จ สมหวัง
"เราควรประสบความสำเร็จ สมหวัง อย่างถูกต้อง ไม่เป็นอธรรม"

มีความสุข
"มีความสุขในธรรม อย่างถูกต้อง ไม่เป็นกิเลส"
"ควรมีความสุข อย่างถูกต้อง ไม่เป็นอธรรม"

หลักในการเชื่อ รู้ เข้าใจ

หลักในการเชื่อ
"ไม่ควรเชื่อตามสิ่งที่ผู้อื่นคิดหรือทำเอาไว้ทันที ควรเชื่อเมื่อคิด เห็นตามเหตุผล ด้วยปัญญา"

รู้ เข้าใจ
"ควรรู้ เข้าใจในความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง จริงๆ แล้วนำไปใช้ ไปปฏิบัติ"
"ควรรู้ เข้าใจในความจริง ธรรมชาติ กฎของธรรมชาติ แล้วปฏิบัติอย่างถูกต้อง"

วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

การใช้ระบบเปิด ระบบปิด

"ควรใช้ระบบเปิดในตอนกลางวัน ใช้ระบบปิดในตอนกลางคืน"
"สามารถใช้ระบบปิดก็ไม่ใช่ ระบบเปิดก็ไม่ใช่ ในการตั้งหลัก"

วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

เข้มแข็ง

"ควรเข้มแข็งในธรรมะ ความถูกความดี ด้วยทางสายกลาง"
"ควรเข้มแข็งในธรรมะ ความถูกความดี ให้มากและเพียงพอ ด้วยทางสายกลาง"

"ควรเข้มแข็งในวิชา ความไม่เบียดเบียน ความไม่เป็นกิเลส ด้วยทางสายกลาง"
"ควรเข้มแข็งในวิชา ความไม่เบียดเบียน ความไม่เป็นกิเลส ให้มากและเพียงพอ ด้วยทางสายกลาง"

วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ความติด

"ควรละความติดทั้งหมด ด้วยความถูก ธรรมะ วิชา การรู้จักวางเฉย การรู้จักวางใจเป็นกลาง การรู้จักปล่อยวาง การรู้จักออกจาก การรู้จักสละ การรู้จักสลัดคืน ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

เชิดชู

"เชิดชูความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"เชิดชูความเป็นกลาง ความเป็นธรรม"

ลำดับความสำคัญของเป้าหมายและการทำ การเรียงความสำคัญ

ลำดับความสำคัญของเป้าหมายและการทำ
ลำดับความสำคัญของเป้าหมายและการทำ คือ
๑. คิด ปฏิบัติธรรมะในการตัดกิเลส ตัดกิเลสทั้งหมด
๒. คิด ปฏิบัติธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม
๓. คิด ปฏิบัติ ใช้วิชา

กระทำด้วยทางสายกลาง

การเรียงความสำคัญ
"ควรเรียงความสำคัญถูกต้อง เป็นกลาง เป็นธรรม ถูกอันดับ ถูกลำดับ ตามหลักธรรม หลักวิชา และกฎของธรรมชาติ"

วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ

"การคิด เรียนรู้ ฝึก ใช้ธรรมะ การคิด เรียนรู้ ฝึก ใช้วิชาจะมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ"
"ควรกระทำภาคทฤษฎีก่อนภาคปฏิบัติ"
"ควรใช้ทั้งทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ"
"ในการกระทำ ควรใช้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างละครึ่ง"

วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

การเลือก เข้าหา อธิษฐาน

การเลือก เข้าหา
"เลือก เข้าหา ไปตามทางความถูก"
"อธิษฐานว่าจะไปตามทางความถูก"

อธิษฐาน
"อธิษฐานว่าจะไปตามทางความถูกความดี ความไม่เป็นกิเลส"
"อธิษฐานว่าจะทำความถูกความดี ความไม่เป็นกิเลส"
"อธิษฐานว่าจะไม่ทำอธรรมหรือความผิดความไม่ดี"

การมองให้เห็นสิ่งต่างๆ

"ควรมองให้เห็นว่าธรรมไหนเป็นธรรมที่ถูก ธรรมไหนเป็นธรรมที่ผิด"
"ควรมองให้เห็นว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ถูก สิ่งไหนเป็นสิ่งที่ผิด"
"กระทำธรรมที่ถูก สิ่งที่ถูก ไม่กระทำธรรมที่ผิด สิ่งที่ผิด"

วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ธรรมะ อธรรม

"ในการกระทำ จะต้องใช้กลุ่มธรรมะหลายข้อมาปฏิบัติ จึงจะสำเร็จได้"
"ในการใช้ธรรมะมาปฏิบัติในแต่ละครั้ง จะทำให้ธรรมะก้าวหน้าไปได้อย่างมีขีดจำกัด"
"เราสามารถปฏิบัติธรรมะสะสมเอาไว้อย่างไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง เพื่อให้มีธรรมะใช้อย่างเพียงพอในภายหลัง"
"ผู้ที่ปฏิบัติอธรรม จะมีการหาอธรรมมาเติม มาเก็บ และใช้"

วิชา ๓ ขั้น

วิชาแบ่งเป็น ๓ ขั้น คือ ขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสูง

"ไม่ควรปิดวิชา ๓ ขั้น ของตนเอง ยกเว้นตอนพัก"
"ไม่ควรปิดวิชา ๓ ขั้น ของผู้อื่น"
"ควรฝึกวิชาทั้ง ๓ ขั้น อย่างถูกต้อง ไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง"

วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ความจริง

ความจริง
"ควรรู้ความจริงในความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"ควรรู้ความจริงในอธรรม กิเลส"
"ไม่ควรลุ่มหลงในอธรรม กิเลส"

รู้ความจริง
"ควรมองให้เห็น รู้ในความจริง"
"ควรมองให้เห็น รู้ในความจริงของสิ่งต่างๆ"
"ควรมองให้เห็น รู้ในความรู้ตามความเป็นจริง"
"การรู้ตามความเป็นจริงได้ จะต้องมีฐานที่ถูกที่ดีก่อน"
"ฐานที่ถูกที่ดีจะเป็นความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

การใช้ธรรมะ

"ใช้ธรรมะ 
เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่น 
เพื่อเข้าถึงความถูกต้องความดี 
เพื่อให้ไม่เข้าหาความผิดความไม่ดี 
เพื่อให้ไม่ยึดติด ไม่ยึดมั่นถือมั่น 
เพื่อให้ไม่เบียดเบียน 
เพื่อให้ไม่หลงผิด 
เพื่อให้เดินไปตามทางที่ถูกต้อง 
เพื่อให้ไม่เป็นโมฆะ 
เพื่อให้ไม่ฟุ้งซ่าน 
เพื่อให้มีสติ มีสัมปชัญญะ มีสมาธิ 
เพื่อให้ไม่ทึบ 
เพื่อให้ปลอดโปร่ง 
เพื่อให้เกิดปัญญา 
เพื่อให้มีวิชา 
เพื่อให้สุขอย่างถูกต้องพอประมาณ 
เพื่อให้ทุกข์น้อยที่สุด 
เพื่อให้ไม่เป็นกิเลส 
เพื่อให้สดชื่น สดใส แจ่มใส ร่าเริง เบิกบาน"

วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

การใช้สิ่งที่เรามีอยู่

"เราควรใช้สิ่งที่เรามีอยู่อย่างมีค่า เกิดประโยชน์ เป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่น"
"เราควรใช้ธรรมที่เรามีอยู่อย่างมีค่า เกิดประโยชน์ เป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่น"

วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

แข็งข้อ ต่อต้าน

"แข็งข้อ ต่อต้านอธรรม ด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
ย่อ
"แข็งข้อ ต่อต้านอธรรม ด้วยการทำถูกทำดี อย่างเป็นวิชา ไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง"

เที่ยงธรรม เที่ยงตรง เถนตรง

"มีความเที่ยงธรรม ความเที่ยงตรง ความเถนตรง อย่างถูกต้อง ถูกหลักธรรม ถูกหลักวิชา ถูกกฎของธรรมชาติ ไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง"

บทความที่ได้รับความนิยม