วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

เป้าหมายของการทำ สะสมความซื่อสัตย์ สุจริต

เป้าหมายของการทำ
"ควรรู้ว่าทำสิ่งไหนที่ทำให้มีความถูกต้อง มีความสุข
ทำสิ่งไหนที่ทำให้มีความผิด มีความทุกข์"
"ทำในสิ่งที่ทำให้มีความถูกต้อง มีความสุข
ไม่ทำในสิ่งที่ทำให้มีความผิด มีความทุกข์"

"ควรคิดให้รู้ว่าทำอย่างไรทำให้ไม่มีปัญหา ไม่เกิดปัญหา แก้ปัญหาได้
ทำอย่างไรทำให้มีปัญหา เกิดปัญหา แก้ปัญหาไม่ได้"
"ทำในสิ่งที่ทำให้ไม่มีปัญหา ไม่เกิดปัญหา แก้ปัญหาได้
ไม่ทำในสิ่งที่ทำให้มีปัญหา เกิดปัญหา แก้ปัญหาไม่ได้"

สะสมความซื่อสัตย์ สุจริต
"ควรสะสมความซื่อสัตย์ สุจริตอย่างถูกหลักวิชา เอาไว้ให้เพียงพอในการใช้"

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

การสำเร็จความรู้สึก

"สามารถสำเร็จความรู้สึกในพื้นฐาน รูปหรือรูปธรรม อรูปหรือนามธรรม ธรรม อย่างเป็นธรรมะ เป็นธรรมฝ่ายดีงาม เป็นวิชา ไม่เป็นอธรรม ไม่เป็นกิเลส เป็นทางสายกลาง ได้"

วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ความคด ความตรง

"ความคด จะเพิ่มให้ความผิด
ความตรง จะเพิ่มให้ความถูกต้อง"
"ไม่ควรอยู่ แก้ปัญหาด้วยความคด
ควรอยู่ แก้ปัญหาด้วยความตรงที่เป็นแนวบวก ความไม่คดไม่ตรงที่เป็นแนวกลาง และแนวลบ อย่างเป็นวิชา ไม่เป็นอธรรม ไม่เป็นกิเลส"
"การก้าวไปข้างหน้าด้วยความตรงที่เป็นแนวบวก จะต้องก้าวควบคู่ไปกับความไม่คดไม่ตรงที่เป็นแนวกลาง และแนวลบ อย่างเป็นวิชา ไม่เป็นอธรรม ไม่เป็นกิเลส"
"ความตรง คือ ตรง ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ตรง ซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น ด้วยความถูก ธรรมฝ่ายดีงาม วิชา ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม ทางสายกลาง"
"ควรใช้ความถูกต้อง ธรรมฝ่ายดีงาม ความตรงที่เป็นแนวบวก ความไม่คดไม่ตรงที่เป็นแนวกลาง แนวลบอย่างไม่เป็นอธรรมไม่เป็นกิเลส วิชา ความเหมาะสม ทางสายกลาง ควบคู่ไปกับความอิสระ"
ย่อ
"ควรใช้ความตรง ควบคู่ไปกับความอิสระ"

ปฏิบัติธรรมะ ไม่ปฏิบัติอธรรมทั้งทางรูปหรือทางนาม หลักปฏิบัติที่ดี

ปฏิบัติธรรมะทั้งทางรูปหรือทางนาม
"ปฏิบัติความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง ทั้งทางรูปหรือทางนาม"

ไม่ปฏิบัติอธรรมทั้งทางรูปหรือทางนาม
"ไม่ปฏิบัติความผิด อธรรม ธรรมฝ่ายไม่ดี ความไม่ดี วิชาที่ผิดที่ไม่ดี ความไม่ใช่ทางสายกลาง ทั้งทางรูปหรือทางนาม"

หลักปฏิบัติที่ดี
"หลักปฏิบัติที่ดี คือ
ไม่คด ไม่โกง ไม่ลำเอียง ไม่เอาเปรียบ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เบียดเบียน ทั้งทางรูปหรือทางนาม
ตรง ซื่อสัตย์ ซื่อตรง มีวิชา เพียร สุจริต อดทน เป็นกลาง เป็นธรรม รู้จักให้รู้จักรับ รู้คุณแทนคุณ จริงใจ ทั้งทางรูปหรือทางนาม"

ย่อ
"หลักปฏิบัติที่ดี คือ
ไม่คด ไม่โกง ทั้งทางรูปหรือทางนาม
ตรง ซื่อสัตย์ ซื่อตรง สุจริต ทั้งทางรูปหรือทางนาม"

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

การมีอิสระ

"มีอิสระโดยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง ทั้งทางรูปหรือทางนาม"
"มีอิสระโดยไม่คด ไม่โกง ไม่ลำเอียง ไม่เอาเปรียบ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เบียดเบียน ทั้งทางรูปหรือทางนาม"
"มีอิสระโดยความตรง ซื่อสัตย์ ซื่อตรง สุจริต เป็นกลาง เป็นธรรม จริงใจ ทั้งทางรูปหรือทางนาม"

ย่อ
"มีอิสระโดยไม่คด ไม่โกง ทั้งทางรูปหรือทางนาม
มีอิสระโดยความตรง ซื่อสัตย์ ซื่อตรง สุจริต ทั้งทางรูปหรือทางนาม"

วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ไม่ได้เปล่า อธรรมหลอก

ไม่ได้เปล่า
"มองทุกสิ่งตามจริง ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ได้เปล่า"
"ทุกสิ่ง ไม่ได้เปล่า จะต้องใช้สมบัติรูป สมบัตินามในการหา เรียง ทำ สร้าง อย่างถูกหลักธรรม ถูกหลักวิชา ถูกกฎของธรรมชาติ"

อธรรมหลอก
"อธรรมจะหลอกว่าทำให้มี อยู่ได้ มีความสุข แต่ความจริงอธรรมจะทำให้ไม่มี อยู่ไม่ได้ มีความทุกข์"

วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ใช้ในการอยู่ สรุปสิ่งไม่ควรปฏิบัติ ควรตัด ควรถอน

ใช้ในการอยู่
"ใช้ธรรมะ วิชาในการอยู่ ไม่ใช้อธรรม วิชาที่ผิดที่ไม่ดีในการอยู่"
"ควรให้มีธรรมะ วิชาอยู่ในทุกที่"
"ความมีอย่างถูกต้อง ได้จากการทำถูกทำดี ใช้วิชา"

สรุปสิ่งไม่ควรปฏิบัติ ควรตัด ควรถอน
สรุปสิ่งไม่ควรปฏิบัติ ควรตัด ควรถอน อย่างเป็นทางสายกลาง คือ
- โลภ ติด ติดใจ อย่างเป็นกิเลส
- ไม่อยาก ไม่พอใจ อย่างเป็นกิเลส
- ความหลง มัวเมา ขาดสติ ขาดสัมปชัญญะ
- ใช้วิชาที่ผิดหรือไม่ดี
- อธรรม
- ความอาลัย เศร้าหมอง

สรุปสิ่งไม่ควรปฏิบัติ
"สิ่งไม่ควรปฏิบัติ คือ
ความอยาก ความอยากได้ ความอยากมี ความอยากใช้ ความอยากทำ ความอยากเป็น อย่างเป็นอธรรม หรือเป็นกิเลส
ความไม่อยาก ความไม่อยากได้ ความไม่อยากมี ความไม่อยากใช้ ความไม่อยากทำ ความไม่อยากเป็น อย่างเป็นอธรรม หรือเป็นกิเลส
การแย่ง แบบผิด เป็นอธรรม หรือเป็นกิเลส"

วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ประพฤติผิด ไม่หลง ไม่มัวเมา

ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ประพฤติผิด
"ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ประพฤติผิดได้โดยการไม่แย่งรูป นามอย่างเป็นอธรรมหรือเป็นกิเลส"

ไม่หลง ไม่มัวเมา
- ระวังใจไม่ให้หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง
- ระวังใจไม่ให้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา

วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ธรรมมีอุปการะมาก ๒ ทุจริต ๓ สุจริต ๓

ธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง
๑. สติ ความระลึกได้
๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว

ทุจริต ๓ อย่าง
๑. ประพฤติชั่วด้วยกาย เรียก กายทุจริต
๒. ประพฤติชั่วด้วยวาจา เรียก วจีทุจริต
๓. ประพฤติชั่วด้วยใจ เรียก มโนทุจริต

สุจริต ๓ อย่าง
๑. ประพฤติชอบด้วยกาย เรียก กายสุจริต
๒. ประพฤติชอบด้วยวาจา เรียก วจีสุจริต
๓. ประพฤติชอบด้วยใจ เรียก มโนสุจริต

มีสติ สัมปชัญญะ เว้นทุจริต ๓ ปฏิบัติสุจริต ๓

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

เจริญ ก้าวหน้า

"เจริญ เจริญในทางจิตใจ ก้าวหน้าได้โดยการปฏิบัติธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ควบคู่ไปกับวิชา"

วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ทำให้ไม่มีแรงใจในการทำผิด ทำให้มีแรงใจในการทำถูก

"ควรทำให้ตนเองหรือผู้อื่นไม่มีแรงใจ ไม่มีพลังใจในการทำผิดทำไม่ดี"
"ควรทำให้ตนเองหรือผู้อื่นมีแรงใจ มีพลังใจในการทำถูกทำดี"

การปรารถนาในความมี ความไม่มี

"การปรารถนาในความมีหรือความไม่มี อาจจะทำให้เกิดอธรรม เกิดกิเลส"
"สามารถปรารถนาในความเป็นกลาง คือปรารถนาในความมีก็ไม่ใช่ ปรารถนาในความไม่มีก็ไม่ใช่ บ้าง"

วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

การแก้ปัญหาและสลัดคืน

"เมื่อเกิดปัญหาหรือความทุกข์ หากเราแก้ปัญหายังไม่สำเร็จ สามารถสลัดคืนบางส่วนกลับไปยังจุดที่กำเนิดของปัญหา เพื่อผ่อนคลายปัญหาหรือความทุกข์นั้นๆ ได้"
"เมื่อเกิดปัญหาหรือความทุกข์ เราสามารถแก้ปัญหาอย่างถูกต้องให้สำเร็จ แล้วสลัดคืนกลับไปยังจุดที่กำเนิดของปัญหา เพื่อให้สิ้นสุดปัญหาอย่างสมบูรณ์"

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

แก้ปัญหาไม่รับรู้ คิดไม่ออก ไม่รอบคอบ ไม่ถี่ถ้วน

"แก้ปัญหาไม่รับรู้ คิดไม่ออก ไม่รอบคอบ ไม่ถี่ถ้วน โดยความถูก การมีความเพียร มีและใช้วิชา รู้และใช้ลำดับอย่างถูกต้อง มีสติ มีสมาธิ มีความยั้งคิด มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ประมาท มีเหตุผล รู้จักให้รู้จักรับ รู้คุณแทนคุณ มีความรับผิดชอบ ยอมรับความจริง มีความจริงใจ มีความเป็นกลาง มีความเป็นธรรม มีความตรง ปฏิบัติทางสายกลาง ไม่ยึดติด ไม่ยึดมั่นถือมั่น รู้จักวางเฉย รู้จักออกจาก ไม่ลำเอียง ไม่เอาเปรียบ ไม่เบียดเบียน ความไม่เป็นกิเลส"

แก้ปัญหาอธรรม

"แก้ปัญหาอธรรม การทำผิดทำไม่ดี ความทุกข์ ความทรมาน ด้วยความถูก ธรรมะ ความไม่เป็นกิเลส"

"แก้ปัญหาการคิดเล็กคิดน้อย โดยความถูก การมีและใช้วิชา มีเหตุผล ไม่ยึดติด ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ลำเอียง ไม่เอาเปรียบ ความไม่เป็นกิเลส"

"แก้ปัญหาการขาดสติ ความหลง ความหลงผิด การยึดติด ยึดมั่นถือมั่น โดยความถูก การรู้ในธรรม มีและใช้วิชา มีสติ มีสมาธิ มีความยั้งคิด มีความยับยั้งชั่งใจ มีเหตุผล รู้จักให้รู้จักรับ รู้คุณแทนคุณ มีความรับผิดชอบ ยอมรับความจริง มีความจริงใจ มีความเป็นกลาง มีความเป็นธรรม มีความตรง ปฏิบัติทางสายกลาง ไม่ยึดติด ไม่ยึดมั่นถือมั่น รู้จักวางเฉย รู้จักออกจาก ไม่ลำเอียง ไม่เอาเปรียบ ไม่เบียดเบียน ความไม่เป็นกิเลส"

"แก้ปัญหาการลำเอียง การเอาเปรียบ โดยความถูก การมีความเพียร มีและใช้วิชา มีเหตุผล มีความเป็นกลาง มีความเป็นธรรม มีความตรง มีความจริงใจ ไม่เบียดเบียน ความไม่เป็นกิเลส"

"แก้ปัญหาความคด ความเห็นแก่ตัว ไม่จริงใจ มักง่าย โดยความถูก การมีความเพียร มีและใช้วิชา รู้จักให้รู้จักรับ รู้คุณแทนคุณ มีความรับผิดชอบ มีเหตุผล มีความเป็นกลาง มีความเป็นธรรม มีความตรง อยู่กับความจริง มีความจริงใจ ปฏิบัติทางสายกลาง ไม่เบียดเบียน ความไม่เป็นกิเลส"

"แก้ปัญหาการมองในแง่ร้าย การจ้องจับผิดอย่างเป็นอธรรม โดยความถูก การมีความเพียร มีและใช้วิชา รู้จักให้รู้จักรับ รู้คุณแทนคุณ มีความรับผิดชอบ มีเหตุผล มีความเป็นกลาง มีความเป็นธรรม มีความตรง อยู่กับความจริง มีความจริงใจ ปฏิบัติทางสายกลาง ไม่เบียดเบียน ความไม่เป็นกิเลส"

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

สมดุลธรรมชาติของขันธ์

"ขันธ์ของเราที่สมดุลธรรมชาติจะชนะครึ่งหนึ่ง แพ้ครึ่งหนึ่ง"

"ควรมองให้ออกว่าในปัจจุบันหากขันธ์ของเราสมดุลตามธรรมชาติแล้ว เราจะเป็นอย่างไร"
"ควรให้เมื่อขันธ์ของเราสมดุลตามธรรมชาติแล้ว ถูกต้องหรือดีอยู่"
"ควรให้เมื่อขันธ์ของเราสมดุลตามธรรมชาติแล้ว ไม่ทุกข์ไม่ทรมานเลย"

ไม่ยอมอธรรม

"ไม่ควรยอมอธรรม"
"ไม่ควรยอมอธรรมความโลภมี"
"การไม่ยอมอธรรม จะทำให้ถูกต้องดีได้ มองเห็นธรรม ไม่หลงผิด ไม่ทุกข์ ไม่เดือดร้อนในภายหลัง"

วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

หลักธรรมความสมดุลธรรมชาติ

"ธรรมชาติจะรักษาสมดุลเอาไว้ ทุกสิ่งจะเป็นไปตามหลักสมดุลของธรรมชาติ"
"การปฏิบัติธรรมะ การปฏิบัติความถูกความดี การปฏิบัติทางสายกลาง เมื่อเป็นไปตามหลักสมดุลธรรมชาติ ก็จะมีความสุขจากการปฏิบัติกรรมดีนั้นๆ จนหมดบุญ"
"การปฏิบัติหย่อนเกินหรือตึงเกิน การปฏิบัติอธรรม การเอาเปรียบ จะทำให้ไม่สมดุลธรรมชาติ จะต้องมาชดใช้กรรมชดใช้หนี้ภายหลัง เพื่อให้สมดุลธรรมชาติ"

วิชา

วิชา คือ ความรู้ หลักปฏิบัติ แบบแผนการปฏิบัติที่ถูกที่ดี ถูกหลักธรรม ถูกกฎของธรรมชาติ
ทักษะ คือ ความชำนาญ, ความเชี่ยวชาญ

"ควรคิด พัฒนา ปรับปรุง เก็บ บันทึก ใช้วิชาที่ถูกที่ดี"
"ควรฝึกทักษะ วิชาที่ถูกที่ดี"
"วิชา เกิดจากการไม่เบียดเบียน"
"การมี ใช้ทักษะ วิชา อย่างถูกต้อง จะทำให้ถูก ดี ได้ดี มีความสุข เป็นประโยชน์ ได้"

"วิชา คือ แบบแผนการปฏิบัติเพื่อแบ่งให้รูป นามส่วนต่างๆ เพื่อให้รูป นามตอบแทนให้ใช้ แบ่งให้ผู้อื่น รวมถึงตนเองผู้ใช้วิชา อย่างถูกหลักธรรม เป็นกลาง เป็นธรรม ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ"
"วิชา จะทำให้ผลลัพธ์เป็นการเรียงถูกเนื้อนาม ถูกลำดับ"
"การใช้วิชา อย่างถูกต้อง จะทำให้เกิดประโยชน์"
"การใช้วิชา ผู้ใช้วิชาไม่ควรรับเกินส่วนของตนเองตามแบบแผนวิชานั้นๆ"
"การใช้วิชา ไม่ควรใช้อย่างเป็นอธรรม หรือเป็นกิเลส"
"การกระทำด้วยวิชา คือ กระทำโดยการให้ ครบทั้งรูป นาม ตนเอง ผู้อื่น เท่ากันหรือผลัดกันเป็นงานหลัก งานรอง งานเบื้องหลัง อย่างถูกหลักธรรม เป็นกลาง เป็นธรรม ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ และสามารถพักได้"

"คิด หา ฝึก มี ใช้วิชาด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม ความปรารถนาดี การรู้จักให้รู้จักรับ การรู้คุณแทนคุณ ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม ความตรง ความถูกกฎของธรรมชาติ ความไม่เบียดเบียน การไม่ยึดติด ไม่ยึดมั่นถือมั่น การรู้จักวางเฉย การรู้จักออกจาก ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

ย่อ
"คิด หา ฝึก มี ใช้วิชาด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม ความถูกกฎของธรรมชาติ ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

สิ่งที่ควรมีในการอยู่

สิ่งที่ควรมีในการอยู่
การอยู่ ควรมีสิ่งเหล่านี้
๑. มีอัตราการรับรู้เพียงพอ
๒. ปฏิบัติธรรมะที่ถูกต้อง มีการหา เรียง ทำ สร้างอย่างเพียงพอ
๓. มีอัตราการปล่อยความถูกความดีจากขันธ์อย่างเพียงพอ

วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

สบายใจ

"สบายใจด้วยความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"สบายใจด้วยการปฏิบัติความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"

วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ของดี ของไม่ดี

"ควรรู้ว่าสิ่งไหนเป็นของดี สิ่งไหนเป็นของไม่ดี"
"ควรเลือกของดี ไม่ควรเลือกของไม่ดี"
"ของดี คือ ความถูก ธรรมะ ธรรมฝ่ายดีงาม ความดีงาม วิชา ความไม่เป็นกิเลส ทางสายกลาง"
"ของไม่ดี คือ ความผิด อธรรม ธรรมฝ่ายไม่ดี ความไม่ดี วิชาที่ผิดที่ไม่ดี กิเลส ความไม่ใช่ทางสายกลาง"

บทความที่ได้รับความนิยม