วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2565

หลักฝึกปฏิบัติ

หลักฝึกปฏิบัติ ๒๒ ขั้น
   ขั้นที่ ๑ เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าหายใจออกยาว
   ขั้นที่ ๒ เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าหายใจออกสั้น
   ขั้นที่ ๓ รู้สึกตัวว่าลมหายใจเบา หรือหนัก หยาบ หรือละเอียด
   ขั้นที่ ๔ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๕ ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ อย่างถูกต้อง มีสติ

   ขั้นที่ ๖ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๗ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๘ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๙ ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ อย่างถูกต้อง มีสติ

   ขั้นที่ ๑๐ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๑๑ ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๑๒ ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๑๓ ทำจิตให้ปล่อยอยู่ อย่างถูกต้อง มีสติ

   ขั้นที่ ๑๔ รู้ถึงการเกิด อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๑๕ รู้ถึงการสร้าง ก่อ อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๑๖ รู้ถึงการพัฒนา อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๑๗ รู้ถึงการปรับปรุง แก้ไข อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๑๘ รู้ถึงการทรงอยู่ อย่างถูกต้อง มีสติ

   ขั้นที่ ๑๙ การตามเห็น ความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๒๐ การตามเห็น ความจางคลาย อยู่เป็นประจำ อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๒๑ การตามเห็น ความดับไม่เหลือ อยู่เป็นประจำ อย่างถูกต้อง มีสติ
   ขั้นที่ ๒๒ การตามเห็น ความสลัดคืน อยู่เป็นประจำ อย่างถูกต้อง มีสติ

องค์แห่งฌาน
    ๑. วิตก คำคำนี้ โดยทั่วไปแปลว่า ความตริหรือความตรึก. แต่ในภาษาสมาธิ คำว่า วิตกนี้ หาใช่ความคิดนึกตริตรึกอย่างใดไม่. ถ้าจะเรียกว่าเป็นความคิด ก็เป็นเพียงการกำหนดนิ่งๆ แนบแน่นอยู่ในสิ่งๆ เดียว, ไม่มีความหมายที่เป็นเรื่องเป็นราวอะไร.
    ๒. วิจาร คำคำนี้ โดยทั่วไป หมายถึงการตรึกตรอง หรือสอดส่องหรือวินิจฉัย แต่ในทางภาษาสมาธิ หาได้มีความหมายอย่างนั้นไม่ เป็นแต่เพียงอาการที่จิตรู้ต่ออารมณ์ที่กำหนดอยู่นั้น, ซึ่งในที่นี้ ได้แก่ลมหายใจ, อยู่อย่างทั่วถึง.
    ๓. ปีติ. คำนี้ ตามปรกติแปลว่าความอิ่มใจ. ในภาษาของสมาธิหมายถึงความอิ่มใจด้วยเหมือนกัน แต่จำกัดความเฉพาะความอิ่มใจที่ไม่เนื่องด้วยพื้นฐาน และต้องเป็นความอิ่มใจที่เกิดมาจากความรู้สึกว่าตนทำอะไรสำเร็จ หรือตนได้ทำสิ่งที่ควรทำเสร็จแล้ว หรือต้องเสร็จแน่ๆ ดังนี้เป็นต้นเท่านั้น.
    ๔. สุข. คำว่าสุขในที่นี้ หมายถึงสุขอันเกิดจากการที่จิตไม่ถูกนิวรณ์รบกวน รวมกันกับกำลังของปีติหรือปราโมทย์ ที่ได้ส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกอันเป็นสุขนี้ขึ้น.
    ๕. เอกัคคตา. เป็นคำที่ย่อมาจากคำว่า จิตเตกัคคตา (จิตต +เอกัคคตา) แปลว่าความที่จิตเป็นสิ่งซึ่งมียอดสุดเพียงอันเดียว. โดยใจความก็คือความที่จิตมีที่กำหนดหรือที่จด-ที่ตั้งเพียงแห่งเดียว.

มีหลักเกณฑ์ที่สรุปได้ ดังนี้ :
    ๑. ปฐมฌาน ประกอบด้วยองค์ห้า คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และ เอกัคคตา.
    ๒. ทุติยฌาน ประกอบด้วยองค์สาม คือ ปีติ สุข และ เอกัคคตา.
    ๓. ตติยฌาน ประกอบด้วยองค์สองคือ สุข และ เอกัคคตา.
    ๔. จตุตถฌาน ประกอบด้วยองค์สองคือ อุเบกขา และ เอกัคคตา.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม